จะพิสูจน์ได้อย่างไรว่าอัลกุรอ่าน ไม่ได้มาจาก การแต่งของมนุษย์

4367

สำหรับการพิสูจน์ว่า อัลกุรอ่านมาจากพระเจ้าหรือไม่นั้น เบื้องต้น ผู้อ่านจะต้องทำความเข้าใจว่า มีความมหัศจรรย์อะไรที่เหนือความสามารถของมนุษย์ ซึ่งในภาษาอาหรับ เราเรียก ความมหัศจรรย์ที่เหนือธรรมชาติ เหนือ ความสามารถของมนุษย์ว่า อะญาซ หรือ มุอญีซะฮ์

ก่อนที่พิสูจน่า อัลกุรอ่าน มาจากพระเจ้า หรือ  เขียนขึ้นโดยมนุย์ จะต้องทำความเข้าใจ คำว่า มุอญีซะฮ์ และ เงื่อนไขของมันเสียก่อน แล้วจึงมาดูว่า อัลกุรอ่านเป็นของจริงหรือไม่ ?

คำว่า มุอญีซะฮ์ หมายถึง การกระทำที่เหนือธรรมชาติ ซึ่งอยู่เหนือความสามารถของมนุษย์ แม้แต่อัจฉริยะ ก็ไม่สามารถที่จะทำสิ่งนั้นได้ ซึ่งการงานดังกล่าว จะเป็นข้อพิสูจน์ ถึง ผู้กระทำที่อยู่เหนือกฎเกฎทั่วไปของธรรมชาติ และคราใดก็ตามที่ มีการกระทำแบบนี้เกิดขึ้น พร้อมๆกับมีการเรียกร้อง อ้างอิงความเป็นศาสดา และไม่มีใครสามารถทำแบบเดียวกันได้  เราเรียกการงานนั้นว่า “มุอฺญีซะฮ์” ซึ่งผู้นำมันมา ผู้ทำให้มันเกิดขึ้น คือ ผู้ที่เป็นจุดเริ่มต้นการสร้าง จากประโยคนี้ เราสามารถสรุป คำว่า มุอญีซาต ในสามประโยคสั้นๆ ว่า มุอญีซะฮ์  คือ

การกระทำสิ่งหนึ่งที่เหนือธรรมชาติ

ซึ่งควบคู่กับการอ้างตำแหน่งศาสนา หรือผู้ส่งสาส์น

พร้อมทั้งท้าทายให้ผู้อื่น กระทำการแบบเดียวกัน โดยผลสรุปคือ ไม่มีใครสามารถทำสิ่งนั้นได้ !!

ในการท้าทาย มีความหมายอยู่ในตัวของมันเอง หากใครแข็งแกร่งกว่า เหนือกว่า และการยอมรับถึงการไร้ความสามารถมีมากกว่า พลังอำนาจอันเป็นมุอญีซะฮ์อันนั้น ก็จะมีมากกว่า ต่อมา ในเรื่องที่ไม่มีใครสงสัยก็คือ

1 ศาสดาอิสลาม อาศัยอยู่ใน สภาพแวดล้อมที่ล้าหลังแทบจะทุกด้าน ซึ่งเราเรียกยุคนั้นว่า ยุคแห่งความป่าเถื่อน

­2 ในยุคนั้น แผ่นดินอาหรับ นับเป็นที่ถูกลืม เพราะ ไม่มีปัจจัยใดๆที่จะทำให้เกิดการพัฒนา  เป็นแผ่นดินแห้งแล้งกันดานและผู้คนส่วนมาก อาศัยกันแบบ” อยู่กับตาย”  แผ่นดินแห่งนี้ ถูกทิ้ง และถูกลืม แม้แต่พวก มหาราช อย่าง รามาเสสที่สอง อเล็กซานเดอร์ ก็ไม่สนใจแผ่นดินแห่งนี้ เพราะแผ่นดินแห่งนี้ ไม่มีอะไรให้พวกเขา แต่แล้วอิสลาม กลับกำเนิดในที่แบบนี้ได้ และเช่นเดียวกัน สภาพแวดล้อมแบบนี้ ถูกหล่อหลอม และอบรม ด้วยอัลกุรอ่าน ในภายหลัง

3 ศาสดาอิสลาม ไม่ใช่ผู้ที่เรียนหนังสือ และหากว่ากันตามความเป็นจริง ภายใต้สภาพแวดล้อมแบบนี้ มันไม่มีการเรียนการสอนอยู่ ไม่มีโรงเรียน ไม่มีมหาวิทยาลัย เหมือนกับแผ่นดิน ชาวอาหรับในยุคนั้นที่ อ่านหนังสือได้  สามารถนับนิ้วกันได้ ไม่มีอาจารย์ ไม่มีระบบการศึกษา สำหรับ ชาวเมืองใดๆเลย อาจจะมีคนแย้งมาว่า “บางทีศาสดาของพวกคุณอาจจะเอาเนื้อหามาจากหนังสือ หรือ ครูที่อยู่ในเมืองนั้นก็ได้ ?เราจะตอบว่า หากสมมุติว่า ศาสดาอิสลาม เคยเรียน การอ่าน การเขียนมาก่อน ก็ไม่มีทางที่จะเขียนหนังสือแบบอัลกุรอ่านขึ้นมาได้  เพราะเราได้บอกท่านแล้ว ที่นี่ ไม่มีหนังสืออะไร นอกจาก นิทาน และเรื่องเล่าขานสืบต่อกันมา อาจจะมีคนแย้งมาอีกว่า บางทีศาสดาของคุณอาจจะไปเรียนนอกเมือง เรียนที่ต่างแดนมาก่อนก็ได้ ?เราจะตอบว่า สมมติว่าศาสดาอิสลามเรียนเมือง ก็ยิ่งเป็นไปไม่ได้ เพราะ ท่านศาสดา เดินทางออกจากนอกเมืองเพียงไม่กี่ครั้ง และการเดินทางก็เป็นไปเพื่อทำการค้า และในระหว่างเดินทาง ก็ไม่มีจังหวะใดๆ ที่ทำให้อนุมานได้ว่า ท่านไปเรียนจากต่างแดนมา ดังนั้น เป็นไปไม่ได้แน่นอน นอกจากนี้ มันจะเป็นไปได้อย่างไร คนที่อ่านหนังสือได้เขียนหนังสือเป็น ซึ่งอยู่ในแผ่นดินที่นับนิ้วกันได้ จะเป็นคนที่ไม่มีใครรู้ว่า เขาเป็นอาจารย์ เขาเรียน และเขียนมาก่อนหน้านี้  โดยไม่มีใครรู้จักเขาเลย นอกจากนี้ มันจะเป็นไปได้อย่างไร ที่คนๆหนึ่ง จะอ้างว่า ฉันคือผู้ที่ไม่ได้เรียนหนังสือ โดยที่ไม่มีใครโต้แย้งว่า เขาเรียนมาก่อน การไม่เรียนหนังสือของศาสดา มีอยู่ในอัลกุรอ่าน อัลกุรอ่านใช้คำนี้ ว่า “อุมมีย์” หมายถึง ผู้ไม่รู้หนังสือ ผู้ไม่เรียนหนังสือมาก่อน  นอกจากนี้ อัลกุรอ่าน ยังได้ชี้แจงอย่างชัดเจนอีกว่า

(وَمَا كُنْتَ تَتْلُو مِنْ قَبْلِهِ مِنْ كِتَابٍ وَلَا تَخُطُّهُ بِيَمِينِكَ ۖ إِذًا لَارْتَابَ الْمُبْطِلُونَ)

“และก่อนหน้านั้นเจ้ามิได้อ่านหนังสือใด ๆ และเจ้ามิได้เขียนมันด้วยมือขวาของเจ้าเพราะมิฉะนั้นแล้ว เหล่าโมฆะธรรมจะตั้งข้อคลางแคลงอย่างแน่นอน”( ซูเราะฮอังกาบูต โองการที่ 48 )

ศาสดาคนนี้แหละ คือ ผู้ที่ยืนหยัด ลุกขึ้น และนำคัมภีร์เล่มหนึ่ง  เปลี่ยน สภาพสังคมที่มืดมน และความป่าเถื่อน เป็นแสงสว่าง  เปลี่ยนโฉมหน้าของสังคมไปอย่างสิ้นเชิง สโลแกนในคัมภีร์เล่มนี้ ค่อยๆส่งผลกับภายนอก และมันได้เปลี่ยนหน้าประวัติศาสตร์ของมนุษชาติไปตลอดกาล คัมภีร์เล่มนี้คือ สิ่งที่ทำให้ ผู้ฟัง ถูกดึงดูด และมันได้ส่งหยั่งลึกถึงจิตใจของแต่ละคน คัมภีร์เล่มนี้ คือ คู่มือสู่ความสำเร็จของชีวิต

การท้าทายของอัลกุรอ่าน อย่างชัดเจน

ความชัดเจน ชี้ให้เห็นถึง ความศรัทธาต่อเป้าหมาย ใครที่ศรัทธาของเขามั่นคงในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เป้าหมายของเขาย่อมชัดเจน ความสงสัยในคำพูด ความอ่อนแอ ในการอธิบาย เป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นถึง ศรัทธาที่อ่อนแอ ที่เจ้าของคำพูดมีต่อคำพูดของตัวเอง  ในอัลกุรอ่านมีการท้าทย ด้วย คำอธิบายที่ชัดจน และหนักแน่น  ต่อผู้ใดก็ตามที่สงสัยในเรื่องของ จุดเริ่มต้นของการสร้าง ,พระเจ้า และไม่ได้มีแต่เพียงการท้าทาย ยังมีการ “ชื่นชม” และ “การกระตุ้น” ให้กระทำสิ่งที่อัลกุรอ่านท้าทายอีกด้วย

คำว่า ท้าทาย ในภาษาอาหรับ เรียกว่า ตะฮัดดีย์ ซึ่งการ ตะฮัดดีย์ของอัลกุรอ่าน อยู่ในระดับที่หนักแน่น และส่งผลต่อผู้ฟังทุกคน ตัวอย่างเช่น

(قُلْ لَئِنِ اجْتَمَعَتِ الْإِنْسُ وَالْجِنُّ عَلَىٰ أَنْ يَأْتُوا بِمِثْلِ هَٰذَا الْقُرْآنِ لَا يَأْتُونَ بِمِثْلِهِ وَلَوْ كَانَ بَعْضُهُمْ لِبَعْضٍ ظَهِيرًا

“จงกล่าวเถิดมุฮัมมัด แน่นอนหากมนุษย์และญินรวมกันที่จะนำมาเช่นอัลกุรอานนี้ พวกเขาไม่อาจจะนำมาเช่นนั้นได้ และแม้ว่าบางคนในหมู่พวกเขาเป็นผู้ช่วยเหลือแก่อีกบางคนก็ตาม” ซูเราะฮอิสรออ โองการที่ 88

สิ่งที่น่าสนใจก็คือ โองการนี้ ไม่จำกัดเวลา และสถานที่ แต่เป็นการท้าทายทุกคนบนโลกนี้  และไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ซึ่งแม้แต่ปัจจุบันกาล ก็ยังไม่มีใครสามารถทำได้

และในอีกโองการหนึ่ง

(وَإِنْ كُنْتُمْ فِي رَيْبٍ مِمَّا نَزَّلْنَا عَلَىٰ عَبْدِنَا فَأْتُوا بِسُورَةٍ مِنْ مِثْلِهِ وَادْعُوا شُهَدَاءَكُمْ مِنْ دُونِ اللَّهِ إِنْ كُنْتُمْ صَادِقِينَ

“และหากปรากฏว่าพวกเจ้าอยู่ในความแคลงใจใด ๆ จากสิ่ง ที่เราได้ลงมาแก่บ่าวของเราแล้ว ก็จงนำมาสักซูเราะฮฺหนึ่งเยี่ยงสิ่งนั้น และจงเชิญชวนผู้ที่อยู่ในหมู่พวกเจ้าอื่นนอกจากอัลลอฮฺหากพวกเจ้าเป็นผู้พูดจริง”

(فَإِنْ لَمْ تَفْعَلُوا وَلَنْ تَفْعَلُوا فَاتَّقُوا النَّارَ الَّتِي وَقُودُهَا النَّاسُ وَالْحِجَارَةُ ۖ أُعِدَّتْ لِلْكَافِرِينَ)

แต่พวกเจ้าก็ยังมิได้ทำ และจะไม่กระทำตลอดไปแล้ว ก็จงระวังไฟนรก ซึ่งเชื้อเพลิงของมันนั้นคือ มนุษย์ และหิน โดยที่มันได้ถูกเตรียมไว้ สำหรับบรรดาผู้)ปฏิเสธศรัทธา “ ซูเราะฮบากอเราะฮ โองการที่ 23-24

มีการท้าทายอันไหนที่ชัดเจนกว่านี้อีกหรือไม่ ในประโยคที่บอกว่า “พวกเจ้าจะไม่มีวันทำได้ หรือ ประโยค ให้ทั้งมนุษย์และญินร่วมมือกัน” หรือ อย่างน้อยให้เขียนมาสักสิบซูเราะฮ์” หรือ ถ้าทำไม่ได้แล้วยังปฏิเสธ ให้ระวังไฟ ที่เชื้อเพลิงของมัน ทำจากมนุษย์ และหิน เหล่านี้ คือ การกระตุ้น และท้าทายของอัลกุรอ่าน ว่า ถ้า คัมภีร์เล่มนี้ ไม่ได้มาจากพระเจ้าจริงๆ ก็ลองแต่งให้มาให้เหมือนกันดู ถ้ากล้ายืนยันว่า อัลกุรอ่าน ไม่ได้มาจากพระเจ้า ลองแต่งมาสักสิบซูเราะฮ์ ถ้าพูดจริง ยืนยันได้ ให้ลองเขียนมา และนั่นคือ หนึ่งในวิธีที่อัลกุรอ่านได้พิสูจน์ตนเอง ว่าคัมภีร์เล่มนี้ ไม่ได้แต่งขึ้นโดยมนุษย์