farsnews – แหล่งข่าว rt ได้เปิดเผยข้อมูลความสัมพันธ์ระหว่างตุรกีกับยิวไซออนิสต์นับตั้งแต่การก่อตั้งระบอบการปกครองไซออนิสต์ในรูปแบบของกราฟดังนี้
1947 : ตุรกีได้คัดค้านแผนของสหประชาชาติในการจัดตั้งรัฐยิวในปาเลสไตน์ และการจัดตั้งรัฐปาเลสไตน์ในปาเลสไตน์
1949 : ตุรกีให้การยอมรับรัฐอิสราเอลอย่างเป็นทางการ
1950 : อิสราเอลและตุรกีได้สร้างความสัมพันธ์ทางการทูต และมีการแต่งตั้งตัวแทนที่มีอำนาจเต็มในความสัมพันธ์ระหว่างกัน ซึ่งตุรกีเป็นประเทศมุสลิมชาติแรกที่ให้การยอมรับการจัดตั้งรัฐบาลอิสราเอล และยอมรับการยึดครองปาเลสไตน์โดยระบอบยิวไซออนิสต์
1980 : หลังจากที่มีการประกาศให้กรุงเยรูซาเล็มเป็นเมืองหลวงของอิสราเอลในรัฐธรรมนูญของระบอบการปกครองยิวไซออนิสต์ ทำให้เกิดวิกฤตที่รุนแรงขึ้น เกิดสงครามหกวันระหว่างอาหรับกับอิสราเอล เป็นเหตุให้สถานกงสุลของทั้งสองประเทศถูกปิดและผู้แทนทางการทูตของทั้งสองฝ่ายก็กลับประเทศของตน
1996 : ประธานของตุรกี Suleyman Demirel เยือนเทลอาวีฟ (Tel Al-Rabi) เป็นครั้งแรก ในช่วงการเยือนครั้งนี้ได้มีการลงนามข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างทั้งสองฝ่ายที่นำไปสู่ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอย่างกว้างขวางระหว่างสองประเทศ
2002 : Tayyip Erdogan Recep คว้าชัยชนะในการเลือกตั้งรัฐสภาของตุรกี และขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศ ซึ่งมีความคาดหวังที่จะยืนอยู่ตรงกันข้ามกับแนวทางของอิสราเอล และมันก็เป็นเช่นนั้นจริง กลายเป็นความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดระหว่างอิสราเอลและตุรกีมากขึ้นในเวลาต่อมา
2005 : ความสัมพันธ์ระหว่างอังการาและเทลอาวีเริ่มดีขึ้น หลังจากรัฐมนตรีต่างประเทศตุรกี อับดุลลาห์กุล ได้เยือนเขตยึดครองปาเลสไตน์ครั้งแรก ซึ่งการเยือนครั้งนั้นนำไปสู่การเยือนอิสราเอลของอุรดุฆอนในเวลาต่อมา และได้พบประชุมกับ อิเรียลชารอน นายกรัฐมนตรีอิสราเอล
2008 : เกิดสงคราม 22 วันระหว่างอิสราเอลกับฉนวนกาซาในปลายปี 2008 ซึ่งเป็นสงครามที่เรียกว่าสงครามเม็ดตะกั่ว และในต้นปี 2009 ความสัมพันธ์ทั้งสองฝ่ายก็ตึงเครียดขึ้นมาอีกครั้ง และตุรกียกเลิกการซ้อมรบร่วมกับกองทัพอากาศอิสราเอลในปี 2009
2010 : เกิดวิกฤติทางการทูต หลังจากที่อิสราเอลตำหนิเอกอัครราชทูตตุรกีที่อนุญาตให้มีการออกอากาศรายการโทรทัศน์ “หุบเขาของหมาป่า” ในตุรกี อีกทั้งสร้างวิกฤตที่ตึงเครียดขึ้นอีก หลังจากเกิดเหตุการณ์หน่วยคอมมานโดอิสราเอล บุกจู่โจมเรือ มาวี มาร์มาร่า ของนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนชาวตุรกีทำให้นักเคลื่อนไหวเสียชีวิต 9 คน
2011 : ตุรกีประกาศตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับอิสราเอล หลังจากคำประกาศของรายงานพาลเมอร์ที่ออกโดยสหประชาชาติเกี่ยวกับข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และตุรกีวางเงื่อนไขสำหรับการฟื้นฟูและสร้างความสัมพันธ์อีกครั้ง ด้วยการยุติการปิดล้อมกาซา ซึ่งเป็นเป็นเงื่อนไขที่สำคัญที่สุด
2013 : เบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีอิสราเอลได้โทรศัพท์คุยกับ Tayyip Erdogan เพื่อขอโทษสำหรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น พร้อมกับแสดงความเสียใจต่อการเสียชีวิตของพลเมืองตุรกีเก้าคน ซึ่งการพูดคุยครั้งนั้นเกิดขึ้นในช่วงวิกฤติการโจมตีซีเรียอย่างหนัก และจากการพูดคุยครั้งนี้ทั้งสองฝ่ายประกาศความพร้อมที่จะปรับความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ
2016 บีลานี ยิลดีริม นายกรัฐมนตรีตุรกี และนายเบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีอิสราเอล ประกาศและร่วมลงนามบรรลุข้อตกลงคืนความสัมพันธ์ร่วมกันอย่างเป็นทางการ
โดยในการร่วมเเถลงต่อสื่อมวลชนพร้อมกัน ต่างฝ่ายต่างแสดงความจำนงว่า จะแต่งตั้งเอกอัครราชทูตไปประจำยังอีกประเทศให้เร็วที่สุด