ข้อหา”ตั้งภาคี” ถือเป็น นโยบายหลัก ที่ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการแสวงหาอำนาจในภาคทฤษฎี โดยมีการ”ก่อวินาศกรรม” และ” คำพูดให้ร้าย” เป็นภาคปฏิบัติ
เหยื่อส่วนมาก ไม่ใช่คนต่างศาสนิก แต่เป็นคนมุสลิมด้วยกันเอง หากมองในภาพรวมจะเห็นว่า ในประเทศที่มีมุสลิมเป็นประชากรส่วนมาก ถูกตั้งข้อหา” กระทำอุตริกรรม” และ ” ตั้งภาคี” อย่างฉาบฉวย รุนแรง และไร้มารยาท
ผลของมัน ทำให้เกิดความแตกแยก ระแวงแคลงใจแบบหมู่ และความเดือดร้อนของสังคมมุสลิม
ความมักง่าย ในการตัดสินผู้อื่นให้ตกศาสนา ดูเหมือนจะเป็นปัญหาที่ซับซ้อน และ รุนแรง ยิ่งขึ้น เข้าไปทุกวัน
คำถามคือ สังคมของเราสามารถยอมรับแนวคิดปฏิรูปให้อิสลามบริสุทธิ์ปราศจากการตั้งภาคีในแบบที่คณะใหม่พยายามเผยแพร่ได้หรือไม่ ? ผลของการรณรงค์นี้ จะพาสังคมมุสลิมไทยไปสู่จุดไหน? คือ คำถามหลักที่คนในประเทศไทย กำลังมองหาคำตอบ
การจะหาคำตอบของคำถามนี้ สามารถศึกษาได้ จากปฏิบัติการของกลุ่มที่นำเอา นโยบายปราบปรามชีริก(ตามที่ตนเองเข้าใจ) มาใช้ รวมถึงศึกษาภาคปฏิบัติของกลุ่มเหล่านี้ และการศึกษารูปแบบของสังคมมุสลิมไทย จากการศึกษาในทั้งสองแง่นี้ เราจะพบว่าในแง่มุมแรก มีคนหลายกลุ่มรับเอาแนวคิด ปราบปรามการตั้งภาคีตามที่ตนเองเข้าใจมาใช้ และลงมือปฏิบัติ โดยกลุ่มใหญ่ที่เห็นชัดที่สุด คือ ไอซิซ , อัลนุศเราะฮ์
ในกรณีของ ไอซิซ เมื่อพวกเขา ตัดสินใจ สังหารศัตรู ที่นับถือศาสนาอิสลาม การตั้งข้อหา”ตั้งภาคี” คือ วิธีที่ง่ายที่สุดในการสังหาร มุสลิม อย่างชอบธรรม เพื่อไม่ให้เหลือข้อคลางแคลง หรือ ข้อโต้แย้งใดๆ การตั้งข้อหา”ตั้งภาคี” ด้วยสาเหตุสักข้อหนึ่ง จะทำให้ เหยื่อ มีสถานะ เลือดฮาล้าล ยึดทรัพย์สินของเหยื่อได้ และ ผู้ทรยศ คนกลุ่มนี้ คือสิ่งสะท้อนการยึดภาคทฤษฎี คือ การตั้งข้อหาตั้งภาคี และภาคปฏิบัติ คือ การสังหารพวกเขา และมันก็ปรากฎอยู่ในแนวทางที่คณะใหม่ ขนมาให้มุสลิมในประเทศไทย มองจากมุมนี้ เราจะเห็นคำตอบว่าการรณรงค์ และกำจัดสิ่งแปลกปลอม ตามที่คณะใหม่เข้าใจ ไม่สามารถนำมาใช้ในประเทศไทยได้ และถ้าหากนำมาใช้ แล้วไม่มีทีท่าว่าการรณรงค์นี้จะยุติ แนวคิดดังกล่าวจะให้กำเนิด นักรบวิปลาส แบบ ไอซิส สักวันหนึ่ง
ในแง่ของสังคมมุสลิมไทย เมื่อเราศึกษาจาก ลักษณะของสังคมประเทศไทย จะได้ข้อสังเกตเหล่านี้
1 หากยึดว่า ทุกสังคมมุสลิม จะเป็นสังคมมุสลิมที่ดีได้ ด้วยการคิดแบบคณะใหม่ ผลที่ได้ คือ การกำจัดความคิดที่แตกต่าง และปัญหาใหม่จะเกิดขึ้น เพราะ แต่ละกลุ่ม แต่ละนิกาย ต่างมีความเข้าใจไม่เหมือนกัน ต่อคำว่า “แปลกปลอม” การตัดสิน บนพื้นฐานความเข้าใจของตัวเอง จึงไม่สามารถให้ผลที่ทุกฝ่ายสามารถยอมรับได้
2 หากยึดว่า สังคมมุสลิม จะอยู่รอด ต้องอาศัย การยอมรับซึ่งกันและกัน ของแต่ละฝ่าย ผลที่ได้ คือ การประนีประนอม และอยู่ร่วมกัน อย่างไม่นำเอาความเข้าใจของตนเอง ไปตัดสินผู้อื่น
3 หากยึดจากความเหมาะสม โดยพิจารณาจาก ลักษณะของสังคมไทย โดยปฏิเสธการรณรงค์แบบคณะใหม่ ผลที่ได้คือ สังคมมุสลิม จะสามารถอยู่ร่วมกันได้ ทั้งกับนิกายอื่น และต่างศาสนิก โดยไม่เบียดเบียนผู้อื่น หรือต่อต้านแนวทางอื่น
4 หากคิดจากผลประโยชน์ที่ได้รับ ผลจากการปฏิรูป คือ “การทำให้สังคมอิสลามบริสุทธิ์จากความแปลกปลอม” ตามที่อ้างนโยบายไว้ ท้ายที่สุดแล้ว มันจะส่งผลเสียและนำสู่การแตกหัก แบบที่ไม่สามารถมองหน้ากันได้ เพราะนี่คือ ควา พยายาม ทำให้ทุกคน ยึดว่า สิ่งแปลกปลอม คือสิ่งที่คณะใหม่ได้ให้นิยามและกำกับไว้ พูดง่ายๆก็คือ การทำให้มุสลิมทุกคนในประเทศไทย ดำรงวิถีชีวิตตามแนวทางของคณะใหม่ ทำให้สังคมไม่มั่นคง แบ่งพรรคแบ่งพวก และสั่นคลอน
ไม่ว่าจะพิจารณาจากหลักการข้อไหน เราต่างเห็นว่า รูปแบบสังคมไทย ไม่อาจเข้ากันได้ กับ แนวคิดปฏิรูปศาสนาแบบคณะใหม่ได้เลย เพราะสังคมมุสลิมในประเทศไทย ประกอบไปด้วยคนหลากศาสนา หลายนิกาย ซึ่งยึดหลักของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ เป็นแกนกลาง การประกาศชี้นิ้วว่า “อิสลามที่ถูกต้องตามแบบเราเท่านั้น” ในแง่หนึ่งมันคือ การประกาศลบแนวทางอื่นนอกจากคณะใหม่ ประกาศล้างนิกายอื่นที่เห็นต่าง ประกาศเป็นปฏิปักษ์กับแนวคิดใดก็ตามที่ไม่เห็นด้วยกับแนวทางนี้ มันคือการสร้างภาวะความศัตรูจากภายในระหว่างมุสลิมด้วยกันเอง
ลองคิดถึงเรื่องร้ายในตะวันออกกลาง จะเห็นว่า ไอซิส ได้สะท้อนนโยบาย การรณรงค์แบบคณะใหม่ มีภาคปฏิบัติ ในแบบที่แม้แต่คนมุสลิมเอง ยังต้องออกมาประกาศว่า สิ่งที่พวกเขาทำไม่ใช่แนวทางของอิสลาม เหยื่อทุกคนที่พวกเขาสังหาร มีลักษณะร่วมกันคือ มีความเห็นต่างจากพวกเขา ทั้งในเรื่อง ความเชื่อ การเมือง หรือ ศีลธรรม แน่นอนว่า สิ่งที่ พวกเขากระทำไม่ใช่อิสลาม และแนวคิดของพวกเขาก็ไม่ใช่ ทว่ามันคือการ ตีความตัวบททางศาสนา ไปตามทิศทางของตนเอง โดยยึดสิ่งหนึ่งที่นักคิดแบบคณะใหม่มีร่วมกันคือ การปฏิรูปศาสนาจากสิ่งแปลกปลอม
ผู้เขียนอยากให้มองว่าจริงๆ แล้ว ปัญหา ไม่ได้อยู่ที่ความต้องการปฏิรูปศาสนาให้บริสุทธิ์สิ่งแปลกปลอม มันคือสิ่งที่ดี และเราก็เห็นด้วย ทุกคนต่างก็ ต้องการให้สังคมของตนเอง ดำเนินแนวทาง ตามวิถีที่ตนเองยึดมั่น อย่างบริสุทธิ์ แต่ปัญหาอยู่ที่ความเข้าใจของพวกเขาที่มีต่อสิ่งแปลกปลอมมันไม่เป็นกลาง และไม่เป็นที่ยอมรับในทางสากล นอกจากนึ้ มุสลิมทั่วโลกต่างก็ได้เรียนรู้ และกำลังเรียนรู้ว่าแล้วว่า ผลของมันยังนำไปสู่การประหัตประหารสังหารชีวิตผู้คน อย่างโหดร้ายทารุณ
แต่ละนิกาย มีนิยามของสิ่งแปลกปลอมเหมือนกัน แต่ต่างกันตรงที่ การตีความว่า อะไรคือ สิ่งแปลกปลอม หรือ อุตริกรรม เช่น การจัดงานวันประสูติศาสดา การจัดพิธีให้เกียรติ รำลึกถึง บุคคลสำคัญทางศาสนา การเรียนภาษาต่างชาติที่ไม่ใช่ภาษาอาหรับ หรือแม้แต่การสวมเสื้อผ้า
การปฏิรูปแบบนี้ จึงมีอนาคตที่ค่อนข้างมืดมน และมันก็กลายเป็นสิ่งที่บั่นทอนสังคมมุสลิมจากภายใน จนบางครั้งมันเลยเถิดไปสู่การ สังหาร มุสลิมด้วยกันเอง และยังส่งผลทำให้ ต่างศาสนิก เข้าใจผิดเกี่ยวกับอิสลามอย่างสิ้นเชิง จนทำให้ไม่เหลือพื้นทีให้ไว้ใจมุสลิม หรือ อยู่ร่วมกันอย่างสบายใจ
เหตุผลเหล่านี้ จึงตอบคำถามให้เราว่า การรณรงค์และปฏิรูปศาสนาจากสิ่งแปลกปลอมแบบคณะใหม่ ไม่สมควรเกิดขึ้นในประเทศที่ยึดหลักการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ อย่างประเทศไทย
บทความนี้ ผู้เขียนได้นำเสนอ เรื่องราวตาม”หัวข้อ” โดยพิจารณาจากผล และความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นจากการรณรงค์ ฟื้นฟู ตามแนวทางคณะใหม่ อาจ มีทั้งคนที่ชอบ และเกลียด เป็นธรรมดา ขึ้นอยู่กับความนิยม แต่ละแนวทางของผู้อ่าน จึงขอให้ผู้อ่านทุกท่าน พิจารณาว่าบทความชิ้นนี้ เป็น มุมมองหนึ่งจากผลของการรณรงค์ ตามแนวทางดังกล่าว เป็นความคิดที่ไม่อาจผุดขึ้นมาได้จากการคิดตามกรอบคณะใหม่ และไม่ว่าอย่างไรก็ขอให้ถือว่า บทความชิ้นนี้เป็นการนำเสนอแนวคิดในเชิงวิชาการ ไม่ใช่เครื่องมือแสดงความเกลียดชังใดๆ
หากหล่อเลี้ยงชีวิตสังคมด้วย “ความเกลียด” ผลที่ได้ ก็คือ “ความเกลียด” แต่หากหล่อเลี้ยงสังคมด้วย”ความรัก” สิ่งที่เบ่งบาน ก็คือ “ความรัก”