สงครามใน “อาเลปโป” และ “โมซูล” กับการเปลี่ยนดุลอำนาจ

1133

islamtimes  –  สงครามในอาเลปโปและโมซูลกับการเปลี่ยนดุลอำนาจทำให้ข้อเท็จจริงทั้งหลายชัดเจนขึ้นกว่าเดิม

1. ในขณะที่เจ้าหน้าที่สหรัฐฯและไซออนิสต์รวมถึงสื่อต่างๆ ที่อยู่ในการครอบครองของฝ่ายเผด็จการพยายามสร้างสถานการณ์ให้ดูเหมือนกับว่าสงครามในอิรักและซีเรียคือสงครามนิกายและชนเผ่าอยู่นั้น ประชาชนทุกชนชั้นของทั้งสองประเทศนี้ -จากทุกศาสนา นิกาย เผ่าพันธุ์ และนิยมพรรคทางการเมือง- ได้รวมตัวกันเป็นหนึ่งเดียวเพื่อต่อสู้กับการก่อการร้ายและได้ทำให้สมรภูมิในอาเลปโปและโมซูลกลายเป็นสัญลักษณ์แห่งเอกภาพของการต่อต้านการก่อการร้ายของประชาชนในซีเรีย อิรักและประชาชนทั้งหมดในภูมิภาค ทำให้การสร้างภาพเท็จต่างๆ ของสื่อตะวันตก อาหรับ และฮิบรูต้องพบกับความล้มเหลว โดยเฉพาะเมื่อประธานคณะอุลามาอ์ซุนนีแห่งอิรักได้ออกมายืนยันว่าในอิรักมีกองกำลัง   “อัลฮะชะดุลชะอ์บี ” ที่เป็นพลเรือนชาวซุนนีมากกว่า 20,000 คนที่ยืนหยัดอยู่กับการต่อสู้กับผู้ก่อการร้ายเคียงบ่าเคียงไหล่พี่น้องชีอะฮ์และชาวเคิร์ดของตน

2. สมรภูมิแห่งอาเลปโปและโมซูลกำลังดำเนินไปตามแผนการที่ถูกวางโดยชาวซีเรียและอิรักภายใต้การชี้นำของรัฐบาลที่ถูกต้องตามกฎหมายที่ได้มาจากคะแนนเสียงประชาชนของประเทศเหล่านี้  และการรวมตัวกันของกองกำลังที่เข้าร่วมในปฏิบัติการณ์ดังกล่าวนั้นก็ได้ถูกจัดวางโดยดามัสกัสและแบกแดดไม่ใช่สหรัฐฯ….!!!  ฉะนั้นสมรภูมิแห่งอาเลปโปและโมซูลบ่งชี้ว่า  กองกำลังของซีเรียและอิรักมีความสามารถในการปลดปล่อยพื้นที่ทั้งหลายของประเทศตนจากเงื้อมมือของผู้ก่อการร้ายด้วยกับการสร้างความเป็นหนึ่งเดียวกันของชาติ และทัศนะคติที่ครอบคลุมโดยไม่จำเป็นต่อการปรากฏตัวของต่างชาติ และการแทรกแซงของพวกเขาในภารกิจของประเทศตน

3. ในแผนการสร้างตะวันออกกลางใหม่ของสหรัฐฯ ได้ผลิตกลุ่มก่อการร้ายไอซิสตักฟีรีและกลุ่มก่อการร้ายต่างๆ ขึ้นมาเพื่อแบ่งซอยประเทศทั้งหลายของภูมิภาค แต่ด้วยการปลดปล่อยอาเลปโปและโมซูล การก่อการร้ายก็จะถูกลบออกจากภูมิภาคโดยปราศจากการบรรลุตามเป้าหมายที่พวกเขาได้วางไว้อย่างแน่นอน  แผนการทั้งหมดของศัตรูจะพบกับความล้มเหลว  ดังนั้นการปลดปล่อยโมซูลและอาเลปโปคือความปราชัยของแผนการแทนที่อิสลามอันบริสุทธิ์ด้วยกับอิสลามอเมริกาในภูมิภาค

4. การสนับสนุนของสหรัฐฯ จากกลุ่มก่อการร้าย และประเทศทั้งหลายในภูมิภาคที่ให้การอุปถัมภ์พวกก่อการร้ายเหล่านี้ อาทิเช่น ซาอุดิอาระเบีย เช่นเดียวกันการถกเถียงเกี่ยวกับการเลือกตั้งภายในสหรัฐฯ การเปิดเผยอีเมล์ของ  “คลินตัน” ที่เปิดโปงนโยบายทั้งหลายของโอบามาในการหนุนหลังกลุ่มก่อการร้าย ทำให้เกิดคำถามขึ้นเกี่ยวกับการกล่าวอ้างของสหรัฐฯ ในการต่อสู้กับการก่อการร้าย และทำให้พฤติกรรมที่ขัดแย้งกันของพวกเขาเด่นชัดขึ้น สิ่งนี้บ่งชี้ว่าสหรัฐฯ ต้องการเพียงแค่ใช้ประโยชน์จากชัยชนะต่างๆ ของกองกำลังปกป้องมาตุภูมิ  และพยายามใช้ข้ออ้างของการมีส่วนร่วมในชัยชนะเหล่านี้ทำให้สังคมโลกมองว่าตนคือผู้นำทัพต่อสู้กับการก่อการร้าย และใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างภาพเพื่อเรียกเครดิตตัวเองในการเลือกตั้งเมื่อเผชิญหน้ากับพรรครีพับลิกัน แต่คำพูดและจุดยืนของเจ้าหน้าที่บางคนของสหรัฐฯ ทำให้ข้ออ้างเหล่านี้ของโอบามาตกเป็นที่สงสัย

กระทรวงกลาโหมของสหรัฐฯ ได้เปรยว่า “บทบาทของทหารสหรัฐฯ ในสมรภูมิโมซูลนั้นมีความสำคัญน้อยมาก”
โฆษกของแพนตากอนและแนวร่วมต้านไอซิสตักฟีรีในอิรักก็เผยเช่นกันว่า  “กองทัพสหรัฐฯ ไม่ได้อยู่ในแนวหน้าของสมรภูมิเลย”

โทนี่ เชฟเฟอร์ เจ้าหน้าที่หน่วยสืบราชการลับซีไอเอได้ยืนยันเช่นเดียวกันว่า  ไม่มีกองกำลังของสหรัฐฯ ปรากฏตัวอยู่ในปฏิบัติการปลดปล่อยโมซูลเลย   อีกด้านหนึ่งสหรัฐฯ ได้สูญเสียสมรภูมิอาเลปโปให้แก่ซีเรียและพันธมิตรของเขา ดังนั้นจึงต้องการทดแทนความพ่ายแพ้ในอาเลปโปด้วยการทำเหมือนว่าตนได้เข้าร่วมรบในสมรภูมิโมซูล   คำถามคือ ข้อกล่าวอ้างในการเข้าร่วมปลดปล่อยโมซูลของสหรัฐฯ และพันธมิตรของเขาจะเป็นความจริงได้อย่างไรในเมื่อพวกเขาคัดค้านการเข้าร่วมของเยาวชน  “ ฮะชะดุลชะอ์บี ” ของอิรักและซีเรียในการต่อสู้กับกลุ่มก่อการร้ายภายในประเทศของตัวเอง  ?

5. ปฏิบัติการของโมซูลและอาเลปโปบ่งบอกว่าถ้าหากแนวร่วม 60 ประเทศที่มีทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกทางการทหาร ข้อมูล สื่อและการเมือง ไม่สามารถทำให้การก่อการร้ายในอิรักและซีเรียพ่ายแพ้ได้นั้น ไม่ใช่เพราะพวกเขาไม่สามารถ แต่พวกเขาไม่ต้องการต่างหาก ดั่งที่รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯจอห์น แคร์รี ได้พูดข่มขู่อย่างเปิดเผยว่า  สงครามจะไม่สิ้นสุดลงด้วยกับการปลดปล่อยอาเลปโป   คำพูดดังกล่าวในความเป็นจริงคือการเตือนว่าสหรัฐฯ จะยังคงหนุนหลังกลุ่มก่อการร้ายต่อไป แม้การกล่าวอ้างดังกล่าวสามารถมีนัยยะทางการโฆษณาชวนเชื่อและทางการทูตได้เช่นเดียวกัน

6. ความวิตกกังวลที่สำคัญที่สุดของเหล่าผู้อุปถัมภ์กลุ่มก่อการร้ายเกี่ยวกับชะตากรรมของอาเลปโปและโมซูลคืออะไร ?
สิ่งแรกเลยคือบทบาทที่สำคัญและความสามารถของกองกำลังอาสาสมัครของประชาชนในการต่อสู้กับพวกก่อการร้ายตักฟีรีย์หัวรุนแรง

สอง หากเมือง Bashika ของอิรักถูกใช้เพื่อไปถึงยังซีเรีย  ก็จะทำให้สถานการณ์สงครามในซีเรียเกิดการพลิกผัน

สาม ชัยชนะของกองกำลังซีเรียและอิรักในสงครามอาเลปโปและโมซูลจะทำให้ฐานรองรับทางการเมืองของเหล่าผู้หนุนหลังกลุ่มก่อการร้ายที่จะเข้าร่วมต่อรองทางการเมืองในอนาคตของประเทศเหล่านี้ตกอยู่ในอันตราย และภัยคุกคามนี้ถือเป็นตัวแปรที่สำคัญที่สุดที่ทำให้ฝ่ายต่างๆ ของตะวันตกรีบเร่งเพื่อบรรลุข้อตกลงสงบศึกชั่วคราว

สี่ อาจเป็นไปได้ว่าปฏิบัติการในโมซูลจะบรรลุเป้าหมายเร็วกว่าที่หลายฝ่ายคาดคิด และสิ่งนี้ทำให้ความกังวลของสหรัฐฯเพิ่มมากขึ้น

7. จากเหตุผลของความวิตกกังวลและความพ่ายแพ้ทั้งหมด อาจเป็นไปได้ว่า สำหรับสหรัฐฯ และพันธมิตรของเขา การสร้างความเสียหายให้กับกลุ่มปกป้องมาตุภูมินั้นสำคัญกว่ากลุ่มก่อการร้าย ด้วยเหตุนี้เองจึงพยายามที่จะเพิ่มความกดดันแก่กลุ่มปกป้องมาตุภูมิให้เกิดการชิงดีชิงเด่น โดยการเคลื่อนย้ายกลุ่มก่อการร้ายของอิรักไปยังฝั่งตะวันออกของซีเรียโดยเฉพาะราเกาะฮ์(รักกา)และดีรุลซูร ดั่งที่ซัยยิดฮะซัน นัศรุลเลาะฮ์ เลขาธิการฮิซบุลเลาะฮ์แห่งเลบานอนได้เตือนให้เฝ้าระวังแผนการนี้ของสหรัฐฯ จนทำให้แบกแดดและดามัสกัสประสานงานร่วมกันเพื่อทำลายแผนสหรัฐอเมริกา

8. อีกหนึ่งความล้มเหลวของสหรัฐฯ และซาอุฯ ในภูมิภาคหลังจากซีเรียและอิรัก คือสงครามเยเมน ที่พวกเขาไม่สามารถไปถึงเป้าหมายของตนแม้จะระเบิดถล่มประเทศนี้มานานหลายเดือนแล้วก็ตาม จนทำให้ต้องยอมสงบศึกชั่วคราวอย่างไม่มีทางเลือกเพื่อดึงซาอุฯ ออกมาจากทางตัน และอาจเป็นไปได้ว่าจะสามารถใช้ความสามารถทั้งหมดของตนเพื่อขัดขวางการปลดปล่อยอาเลปโป

จอร์น เคอร์บี้  ออกมาตอกย้ำว่า เราต้องทำการทบทวนสิ่งนี้ใหม่อย่างไม่มีทางเลือก

9. ดูเหมือนว่าสหรัฐฯต้องการเปลี่ยนบทบาทของกลุ่มก่อการร้ายในซีเรียและอิรักให้เป็นเหมือนกับกลุ่มอัลกออิดะฮ์ในอัฟกานิสถาน เปลี่ยนการคุกคามทางทหารให้กลายเป็นการคุกคามทางความมั่นคงในประเทศเหล่านี้

10. ชัยชนะทั้งหลายของสมรภูมิกลุ่มปกป้องมาตุภูมิในอิรักและซีเรียสามารถดึงดูดการสนับสนุนสมรภูมิดังกล่าวที่มากกว่าเดิมจากประชาชาติอิสลาม – อาหรับ  ขณะนี้หลายประเทศมีความพยามยามที่จะได้รับความดีความชอบในสมรภูมินี้ การประสานงานกันระหว่างซีเรียกับอียิปต์เพื่อต่อสู้กับการก่อการร้ายบ่งชี้ว่า กรุงไคโรไม่ต้องการอยู่ภายใต้ร่มเงาของซาอุดิอาระเบีย อีกต่อไป เพราะถือเป็นครั้งแรกที่มีการเดินทางไปยังอียิปต์ของประธานสภาความมั่นคงของซีเรียได้ถูกประกาศออกมาอย่างเปิดเผย ซึ่งถือเป็นสาส์นทางการเมืองและแฝงไปด้วยนัยยะที่สำคัญ เสียงสนับสนุนของอียิปต์ต่อมติรัสเซียเกี่ยวกับซีเรีย เงื่อนไขการปรากฏตัวของอิหร่านในการประชุมโลซานน์คือการปรากฏตัวของอียิปต์ การทดสอบศักยภาพทางการทหารร่วมกันของรัสเซียในอียิปต์ รวมถึงการประกาศความพร้อมของจีนและอินเดียต่อการช่วยเหลือกองกำลังซีเรียก็ถือเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ทำให้สหรัฐฯ และซาอุฯ ต้องกุมขมับมากกว่าเดิม เหมือนดั่งที่โฆษกกระทรวงต่างประเทศของสหรัฐฯ ได้เผยกับผู้สื่อข่าวที่ถามเขาว่า  อียิปต์เป็นพันธมิตรของสหรัฐฯ หรือเปล่า ? เขาตอบว่า  ผมไม่ทราบว่า เราจำเป็นต้องเป็นพันธมิตรกับอียิปต์  !

11. ด้วยการลบกลุ่มก่อการร้ายออกไปหลังการปลดปล่อยอาเลปโปและโมซูล สหรัฐฯ และพันธมิตรของเขาคงไม่มีทางเลือกใด นอกจากยอมรับความพ่ายแพ้ของตนในการเปลี่ยนแปลงอนาคตในซีเรียและอิรัก และจุดสำคัญเกี่ยวกับประเด็นนี้คือการสารภาพอย่างเปิดเผยของรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ถึงความพ่ายแพ้ในสมรภูมิดังกล่าว ดั่งที่เขากล่าวหลังการประชุมในโลซานน์และลอนดอนว่า  ผมไม่คิดว่ารัฐสภาของประเทศของยุโรปทั้งหลายพร้อมที่จะประกาศสงคราม เพราะมันจะเป็นการเผชิญหน้าระหว่างมหาอำนาจที่ยิ่งใหญ่ และตามมาด้วยผลลัพธ์แห่งโศกนาฏกรรม

12. อาจเป็นไปได้ว่าเราสามารถรวบรวมความวิตกกังวลและความพ่ายแพ้ทั้งหลายของสหรัฐฯ ในภูมิภาคไว้ในประโยคเพียงประโยคเดียวของ

ฟรีดแมน  นักวิเคราะห์เว็บไซต์ชื่อดังของอิสราเอล yedioth harvnvt กล่าวว่า ทั้งฮิซบุลลอฮ์ อันศอรุลลอฮ์ และอัลฮะชะดุลชะอ์บี เป้าหมายและอุดมการณ์ของพวกเขาล้วนได้รับการดลใจจากการปฏิวัติอิสลามแห่งอิหร่านทั้งสิ้น….!!!

http://www.islamtimes.org/fa/doc/article/577727/