jamnews / alalam / tasnimnews / presstv – มิเชล อูน นักการทหารและนักการเมืองเลบานอนเกิดเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 1935 ในเขตพื้นที่ Alshyah เลบานอน
มิเชล อูน เป็นหัวหน้าของขบวนการเคลื่อนไหวแห่งชาติเลบานอน ได้เข้าสู่กองทัพในปี 1955 และในวันที่ 23 กรกฎาคม 1984 ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดในเลบานอน
ก่อนที่เขาจะเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุของกองทัพ ในวันที่ 14 ธันวาคม 1970 เขาเป็นรองผู้บัญชาการทหารปืนใหญ่ และในปี 1970 เป็นรองผู้บัญชาการของกองพันทหารปืนใหญ่
วันที่ 23 สิงหาคม 1976 เขาเป็นผู้บัญชาการของทหารปืนใหญ่กองทัพเลบานอน และวันที่ 14 สิงหาคม 1982 ได้เป็นเสนาธิการกองกำลังติดอาวุธและได้มีการปฏิบัติภารกิจของตนอย่างต่อเนื่อง ในเดือนสิงหาคม 1982 ได้รับมอบหมายให้เป็นหัวหน้าในการรักษาความปลอดภัยในเบรุต
23 กรกฎาคม 1984 ได้เป็นผู้บัญชาการทหารบก
มิเชล อูน ในระยะเวลาที่ปฏิบัติหน้าที่ในกองทัพนั้นได้ผ่านการฝึกมาอย่างโชกโชนทั้งในประเทศเลบานอนฝรั่งเศสและอเมริกา
จัดตั้งรัฐบาลทหาร
นอกจากนี้ในช่วงจุดสิ้นสุดของสงครามกลางเมืองในเลบานอน อามีน ญามีล ประธานาธิบดีสมัยนั้น ได้แต่งตั้งให้มิเชล อูนเป็นนายกรัฐมนตรีทำหน้าที่ในการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีทหารอย่างเป็นทางการ
หลังจากที่ได้จัดตั้งคณะรัฐมนตรีทหารเสร็จเรียบร้อยแล้ว อามีน ญามีล ก็ได้มอบหมายให้มิเชล อูน มีอำนาจสูงสุดในการต่อกรกับและจัดการกับรัฐบาลพลเรือนนำโดย “ซาลิม อัลฮัศศ์ ” รัฐมนตรีรัฐมนตรีมุสลิมจำนวนหนึ่งได้ลาออกไม่กี่ชั่วโมงหลังจากประกาศตั้งแต่คณะคณะรัฐมนตรี และนี่คือเหตุการณ์ครั้งแรกของเลบานอนที่เกิดการเผชิญกันระหว่างสองรัฐบาลในเวลาเดียวกัน
มิเชล อูน นอกจากเป็นนายกรัฐมนตรีแล้ว ยังรับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและกระทรวงไอซีที ขณะที่เขาก็ยังคงอยู่ในสถานภาพของตนในกองทัพต่อไป
วันที่ 4 ตุลาคม 1988 รับตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการศึกษาแห่งชาติและวิจิตรศิลป์และเป็นผู้รับผิดชอบในการกำกับดูแลกระทรวงมหาดไทย
ข้อตกลง “Taif” และมิเชล อูนถูกเนรเทศไปยังประเทศฝรั่งเศส
ในเดือนสิงหาคม 1989 ได้มีการนงนามข้อตกล Taif ภายใต้การประสานและการเป็นตัวกลางของ ซาอุดิอาระเบียในการยุติสงครามกลางเมืองเลบานอน แต่มิเชล อูน คัดค้านข้อตกลงดังกล่าวอันเนื่องจากความไม่ชัดเจนของทหารซีเรียในเลบานอนและกลยุทธ์แนวทางออกที่ชัดเจน หลังจากเกิดความคัดแย้งอย่างหนัก ในที่สุดวันที่ 13 ตุลาคม 1990 เขาถูกไล่ออกจากทำเนียบภายหลังจากที่มีการบรรลุข้อตกลงระห่างซีเรียกับเลบานอน และหนี้ไปยังสถานทูตฝรั่งเศสในกรุงเบรุตและต่อมาเมื่อสามารถตกลงกันได้แล้ว ในวันที่ 28 สิงหาคม 1991 เขาถูกเนรเทศไปยังประเทศฝรั่งเศส 7 วัน พฤษภาคม 2005 มิเชล อูน ก็ได้เดินทางกลับประเทศ และได้รับการต้อนรับจากบรรดาผู้นิยมชื่นชอบและผู้สนับสนุนจำนวนมาก
จากนั้นเขาก็มีส่วนร่วมในการเลือกตั้งรัฐสภาปี 2005 และพรรคของเขา สามารถกวาดที่นั่งในรัฐสภาได้จำนวน 21 ที่นั่ง
รับมือกับฮิบุลเลาะฮ์
ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2006 มิเชล อูน ได้ลงนามข้อตกลงกับฮิซบุลเลาะฮ์ในเลบานอนในโบสถ์ Mar Mkhayl
การประชุมโดฮาและการจัดตั้งรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ
มิเชล อูน ได้เข้าร่วมการประชุมในโดฮา การประชุมมีขึ้นในวันที่ 21 พฤษภาคม 2008 และได้ลงนามในข้อตกลงที่จะจัดตั้งรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติในเลบานอนโดยเปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วม
มิเชล อูน มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับซีเรีย
หลังจากที่กองทัพซีเรียการถอนตัวออกจากเลบานอน เขาเริ่มมีความสัมพันธ์ที่ดีและใกล้ชิดกับรัฐบาลซีเรีย และในวันที่ 3 ธันวาคม 2008 เขาได้เดินทางเยือนซีเรีย พบปะกับประธานาธิบดีบาชาร์อัลอัสซาด
ชีวิตส่วนตัวของมิเชล อูน
ภรรยาของมิเชล อูน ชื่อว่า “นาเดีย อูน” มีลูกสาวสามคน ชื่อ Mira Claudine และ Chantal
มิเชล อูน ประธานาธิบดีคนใหม่แห่งเลบนอน
หลังจากสองปีครึ่งและช่วงเวลาวิกฤตของรัฐสภาเลบานอน ทำให้ประเทศนี้ต้องว่างเปล่าจากผู้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี แต่ในที่สุดนาย “มิเชล อูน” ผู้สมัครที่ได้รับการสนับสนุนจากฮิซบุลเลาะฮ์ ก็ได้รับการคัดเลือกให้เป็นประธานาธิบดีคนใหม่
นาย “มิเชล อูน” ผู้สมัครที่ได้รับการสนับสนุนโดยฮิซบุลลอฮ์แห่งเลบานอน ได้รับการคัดเลือกโดยรัฐสภาให้เป็นประธานาธิบดีคนใหม่ของประเทศนี้
ในสองรอบของการลงคะแนนเสียงของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพื่อกำหนดตัวของประธานาธิบดีนั้น นายมิเชล อูน ประสบความสำเร็จได้รับคะแนนเสียงตามที่คาดหวังไว้ ในรอบแรกของการลงคะแนนนั้นนายมิเชล อูน ได้คะแนน 83 เสียงจากจำนวนผู้แทน 127 คน
ในรอบที่สองของการลงคะแนนก็เช่นเดียวกัน นายมิเชล อูน ได้รับคะแนน 84 คะแนน ในขณะที่การลงคะแนนในรอบที่สองสำหรับการเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีนั้นต้องการเสียงเพียง 65 คะแนนเท่านั้น
หลังจากการสิ้นสุดสมัยการเป็นประธานาธิบดีของนาย “มิเชล สุไลมาน” ซึ่งได้ผ่านไปประมาณสองปีครึ่งที่พรรคและกลุ่มต่างๆ ของเลบานอน ไม่สามารถที่จะตกลงกันได้เกี่ยวกับตัวเลือกที่ชัดเจนสำหรับผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี
Nabih Berri โฆษกของรัฐสภาเลบานอนประกาศว่า ตัวแทนทั้งหมด 127 คนได้เข้าร่วมในการประชุมครั้งนี้โดยไม่มีผู้ใดขาดหายไป
หลังจากที่ขบวนการเคลื่อนไหว “อัลมุสตักบัล” (Future Movement) ได้เห็นชอบด้วยกับการเป็นประธานาธิบดีของนาย “มิเชล อูน” เขาจึงได้รับการคัดเลือกจากรัฐสภาเลบานอนให้เป็นประธานาธิบดีคนใหม่ของประเทศนี้ ประธานรัฐสภาเลบานอนได้กล่าวว่า ในที่ประชุมครั้งนี้มีผู้แทนเข้าร่วมจำนวน 127 คน โดยไม่มีผู้แทนคนใดขาดการประชุมเลย
ปฏิกิริยาต่อการเลือกตั้งประธานาธิบดีเลบานอน
การเลือกตั้งประธานาธิบดีในเลบานอนได้ทำให้สูญญากาศทางการเมือง 29 เดือนของประเทศนี้สิ้นสุดลง และก่อให้เกิดปฏิกิริยาอย่างกว้างขวางติดตามมา
บรรดาผู้แทนในรัฐสภาของเลบานอนได้จัดให้มีการลงคะแนนเสียงรอบที่สี่สิบหกสำหรับการคัดเลือกประธานาธิบดีของประเทศนี้ในสี่ขั้นตอน ในขั้นตอนที่สี่ นาย “มิเชลอูน” อดีตผู้บัญชาการของกองทัพเลบานอนได้รับการคัดเลือกให้เป็นประธานาธิบดีด้วยคะแนนเสียง 83 เสียง จากคะแนนเสียงทั้งหมด 127 เสียง เมื่อช่วงเที่ยงของวันจันทร์ 31 ตุลาคม 59
ฮะซัน โรฮานี ประธานาธิบดีของอิหร่าน ได้พูดคุยทางโทรศัพท์กับมิเชล อูน ในช่วงบ่ายวันจันทร์ว่า “สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่านเชื่อว่าการเลือกตั้งที่จัดขึ้นในการแข่งขันที่โปร่งใสและเป็นอิสระนี้ ไม่ได้เป็นชัยชนะของฝ่ายใดเป็นการเฉพาะ แต่เป็นภาพสะท้อนให้เห็นถึงการอยู่ร่วมกันอย่างสันติของกลุ่มทั้งหมดที่มีความหลากหลายในประเทศเลบานอน และเป็นความสำเร็จที่หวานชื่นสำหรับประชาชนชาวเลบานอน”
โรฮานีได้อวยพรให้ประธานาธิบดีเลบานอนคนใหม่ประสบความสำเร็จ และขอให้ประชาชนของประเทศนี้ได้รับเกียรติศักดิ์ศรี พร้อมกับกล่าวเสริมว่า “สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่านพร้อมที่จะพัฒนาความสัมพันธ์ที่เป็นมิตรกับเลบานอนในทุกด้าน ทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจและวัฒนธรรม”
มุฮัมมัด ญะวาด ซฮรีฟ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของอิหร่านได้เขียนบนทวิตเตอร์ของเขาว่า “ขอแสดงความยินดีกับชาวเลบานอนทุกคนในการคัดเลือกประธานาธิบดีมิเชล อูน ความมั่นคงและความก้าวหน้าสำหรับชาวเลบานอนจะเกิดขึ้นเมื่อประชาชนได้เป็นผู้ตัดสินใจด้วยตัวเองสำหรับประเทศของพวกเขา”
อะลีอักบัร วิลายะตี ที่ปรึกษาด้านกิจการระหว่างประเทศของผู้นำสูงสุดแห่งอิหร่าน ได้กล่าวแสดงความยินดีต่อประชาชนและรัฐบาลเลบานอนที่ได้เลือกนายมิเชล อูน เป็นประธานาธิบดี และกล่าวเสริมว่า “ความยืดเยื้อยาวนานถึง 30 เดือนของการเลือกตั้งนี้ แสดงให้เห็นถึงความยากสำบาก แต่ขณะเดียวกันก็แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการเลือกตั้งครั้งนี้… ตลอดเวลาดังกล่าว บรรดาผู้แทรกแซงชาวต่างชาติซึ่งประกอบด้วยตะวันตกและประเทศอนุรักษ์นิยมในภูมิภาค มีความพยายามอย่างมากโดยอาศัยสมุนรับใช้ของตนทำให้เกิดสุญญากาศ เพื่อยับยั้งการการกำหนดตัวประธานาธิบดี สิ่งนี้คือหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้การเลือกตั้งประธานาธิบดีเลบานอนต้องยึดเยื้อยาวนานมาถึง 30 เดือน”
วิลายะตีได้กล่าวต่อไปอีกว่า “ด้วยกับชัยชนะครั้งนี้ อุดมคติต่างๆ ของประชาชนชาวเลบานอน ซึ่งได้แก่เอกราชและการรักษาบูรณภาพทางดินแดน และการเสริมอำนาจในการเผชิญหน้ากับชาวต่างชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบอบไซออนิสต์จะยังคงดำเนินต่อไป และการเลือกตั้งครั้งนี้จะทำให้จุดยืนของประชาชนเลบานอนและการยืนหยัดของพวกเขาในการต้านทานชาวไซออนิสต์แข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น เนื่องจากวันนี้ท่ามกลางประชาชนเลบานอน ประธานาธิบดีผู้เป็นนักต่อสู้ที่กล้าหาญและมีประวัติการณ์ที่ดีมากได้รับการคัดเลือกขึ้นมาแล้ว”
ซัยยิดฮะซัน นัศรุลลอฮ์ เลขาธิการฮิซบุลเลาะฮ์แห่งเลบานอน ก็ได้กล่าวแสดงความยินดีต่อนายมิเชล อูน เช่นกัน และได้อวยพรให้ประธานาธิบดีคนใหม่ของเลบานอนประสบความสำเร็จ
“เชคนะบีล กอวูก” รองประธานสภาผู้ดำเนินการของฮิซบุลเลาะฮ์ ได้กล่าวว่า “ระบอบราชวงศ์ซะอูดคือผู้ที่ต้องรับผิดชอบต่อระยะเวลาสองปีครึ่งของความว่างเปล่าจากประธานาธิบดีของเลบานอน เนื่องจากระบอบนี้ได้ใช้การวีโต้ต่อต้านผู้สมัครที่ในทัศนะของประชาชนเขาเป็นผู้ที่มีความแข็งแกร่งที่สุด แต่ในที่สุดการเลือกตั้งประธานาธิบดีของเลบานอนก็บรรลุสู่ผลสัมฤทธิ์ในเชิงกลยุทธ์แห่งชาติ และทำให้การวีโต้ของซาอุฯ ต้องล้มเหลวลงอย่างเป็นทางการ”
อะลี บะรอกะฮ์ ตัวแทนของฮามาสในเลบานอน ในแถลงการณ์ฉบับหนึ่งเขาได้กล่าวแสดงความยินดีต่อประชาชนเลบานอนที่นายมิเชล อูน ได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดี และประกาศว่า “วิกฤตสุญญากาศของอำนาจในประเทศนี้ได้สิ้นสุดลงแล้ว”
ในขณะที่หนังสือพิมพ์ Yedioth Ahronoth ของอิสราเอลได้เขียนว่า การคัดเลือกนายมิเชล อูน เป็นประธานาธิบดีของเลบานอน คือ “ข่าวร้ายสำหรับอิสราเอล” เนื่องจากนายมิเชล อูน มีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดต่อฮิซบุลเลาะฮ์
นับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2014 เลบานอนพร้อมกับการสิ้นสุดสมัยที่สองของการเป็นประธานาธิบดีของนายมิเชล สุไลมาน ก็ยังไม่มีประธานาธิบดี สุญญากาศทางอำนาจที่ยาวนานที่สุดในเลบานอนนี้ นับว่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากการสิ้นสุดของสงครามกลางเมืองในปี 1990
ปฏิกิริยาของสื่ออิสราเอลและสื่อต่างๆต่อประธานาธิบดีคนใหม่ของเลบานอน
“การคัดเลือกพันธมิตรของอิหร่านโดยรัฐสภาเลบานอน ได้เปลี่ยนดุลอำนาจในภูมิภาคให้เป็นภัยต่อซาอุดีอาระเบีย… และสำหรับกับอิสราเอลนั้น สิ่งนี้หมายถึงปัญหาอย่างแท้จริง”
การคัดเลือกนาย “มิเชล อูน” เป็นประธานาธิบดีของเลบานอน มีการสะท้อนอย่างกว้างขวางในสื่อต่างๆ ของโลก สำนักข่าวรอยเตอร์ส (Reuters) เดอะการ์เดียน (The Guardian) นิวยอร์กไทม์ส (NYTimes) ยูเอสเอทูเดย์ (USA TODAY) บลูมเบิร์ก (Bloomberg) เดลี่บีสต์ (Daily Beast) อัล มะนาร (Al manar) สำนักข่าวคูเวต (Kuwait News Agency) รัสเซียดูเดย์ (RT) เจแปนไทมส์ (Japan Times) เยรูซาเล็มโพสต์ (Jpost) และ Yedioth Ahrvnvt (Ynetnews) คือส่วนหนึ่งจากสื่อต่างๆ ที่ได้สะท้อนเกี่ยวกับเรื่องนี้
ยูเอสเอทูเดย์ ได้สะท้อนข่าวนี้โดยพาดหัวว่า “เลบานอนได้เลือกประธานาธิบดีที่ได้รับการสนับสนุนจากอิหร่านและฮิซบุลลอฮ์” ในส่วนเริ่มต้นของสื่ออเมริกันนี้ได้เขียนว่า : ในวันจันทร์ (31-10-2016) ฝ่ายนิติบัญญัติของเลบานอนได้คัดเลือกนาย “มิเชล อูน” นักการเมืองผู้ได้รับการสนับสนุนจากอิหร่านและเป็นอดีตผู้บัญชาการทหารของกองทัพเลบานอนให้เป็นประธานาธิบดีของประเทศนี้
ตามข้อเขียนของยูเอสเอทูเดย์ ด้วยการคัดเลือกนายมิเชล อูน สถานการณ์ที่เกิดขึ้นตลอดเวลามากกว่าสองปีที่ทำให้เลบานอนว่างเปล่าจากผู้นำนั้นได้สิ้นสุดลง นายมิเชล อูน วัย 81 ปี เป็นพันธมิตรของฮิซบุลลอฮ์ กลุ่มติดอาวุธของชีอะฮ์ และเป็นพรรคการเมืองที่ได้รับการสนับสนุนจากอิหร่าน และได้ช่วยประธานาธิบดีบัชชาร อัลอะซัด ในสงครามซีเรียซึ่งจนถึงขณะนี้เป็นเวลาห้าปีแล้ว
เดอะการ์เดียน ได้พูดถึงประเด็นนี้ในบทความเรื่อง “มิเชล อูน พันธมิตรของอิหร่านได้รับเลือกเป็นประธานของเลบานอน” หนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษนี้ได้เขียนว่า : การคัดเลือกอดีตผู้บัญชาการกองทัพและพันธมิตรของอิหร่านโดยรัฐสภาของเลบานอน ได้เปลี่ยนดุลอำนาจในภูมิภาคให้เป็นภัยต่อซาอุดีอาระเบีย
เดอะการ์เดีย กล่าวเสริมว่า บรรดาผู้แทนของเลบานอนได้เลือกตั้งพันธมิตรที่ซื่อสัตย์ของอิหร่านเป็นประธานาธิบดี การเลือกนายมิเชล อูน ทำให้ทางตันที่เป็นสาเหตุให้เลบานอนเป็นอัมพาตถึงสองปีได้สิ้นสุดลง ทางตันซึ่งเกิดจากการแข่งขันอย่างกว้างขวางระหว่างเตหะรานและซาอุดีอาระเบีย
Al-Manar ได้สะท้อนข่าวของอิสราเอลทูเดย์เกี่ยวกับประเด็นนี้ในบทความเรื่อง “สื่ออิสราเอล : ฮิซบุลลอฮ์ ผู้ชนะที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของการเลือกตั้งมิเชล อูน เป็นประธานาธิบดีของเลบานอน” สื่อเลบานอนนี้ได้เขียนว่า : หนังสือพิมพ์รายวันอิสราเอลทูเดย์ (Israel Today) เขียนว่า การเลือกพลเอกมิเชล อูน นั้นหมายความว่า ซัยยิดฮะซัน นัศรุลลอฮ์ เลขาธิการฮิซบุลลอฮ์แห่งเลบานอน คือ “ผู้ชนะที่ยิ่งใหญ่ที่สุด” ของเกมนี้
อิสราเอลทูเดย์ ได้กล่าวเสริมว่า ลำพังการเลือกตั้งประธานาธิบดีหรือแม้แต่นายกรัฐมนตรีของเลบานอนนั้นไม่มีความหมายพิเศษอะไร หากแต่ว่านัยของการเลือกมิเชล อูนนั้น ก็คือว่า ซะอัด อัลฮะรีรี อดีตนายกรัฐมนตรีของเลบานอน ได้ยอมจำนนต่อการตัดสินใจต่างๆ ที่ถูกบังคับโดยนัศรุลลอฮ์แล้ว
Yedioth Ahrvnvt (Ynetnews) อีกสื่อหนึ่งของไซออนิสต์ ได้พูดถึงประเด็นนี้ในรายงานเรื่อง “การเลือกนายพลมิเชล อูน คือข่าวร้ายสำหรับอิสราเอล”
ตามข้อเขียนของ Yedioth Ahrvnvt บรรดานักวิเคราะห์ได้กล่าวว่า การคัดเลือกนายกรัฐมนตรีและการกำหนดนโยบายต่างประเทศของเลบานอนนั้น จะอยู่ในความรับผิดชอบของนายมิเชล อูน และกรณีที่เกี่ยวกับอิสราเอลนั้น สิ่งนี้หมายถึงปัญหาอย่างแท้จริง”