หัวหน้าเอ็มเคโอ ออกโรง กล่าวหาผู้นำอิหร่านสั่งถล่มกะบะห์

547
มัรยัม ร็อญาวี นักการเมืองฝั่งตรงข้ามรัฐบาลอิหร่านเเละปัจจุบันเป็นผู้นำสภาต่อต้านอิหร่าน

คู่อริของอิหร่านโหนกระแสอิหร่านอยู่เบื้องหลังโจมตีมักกะฮ์ได้ออกมาอย่างต่อเนื่อง  ล่าสุดมีการออกโรงจาก นาง มัรยัม ร็อญาวี นักการเมืองฝั่งตรงข้ามรัฐบาลอิหร่านเเละปัจจุบันเป็นผู้นำสภาต่อต้านอิหร่าน หรือ National Council of Resistance of Iran (NCRI) ระบุว่า การโจมตีมักกะห์อยู่ภายใต้การดูเเลของกุดส์ฟอร์ส เเละถูกสั่งการโดยผู้นำอิหร่าน อยาตุลลอฮ ซัยยิด อาลี คาเมเนอี เธอกล่าวว่าการโจมตีครั้งดังกล่าวเป็น “การประกาศสงครามต่อมุสลิมทั่วทั้งโลก”

เธอเรียกร้องให้องค์การความร่วมมืออิสลาม หรือ OIC ขับไล่การกระทำของรัฐ “ต่อต้านความเป็นมนุษย์”  เเละ “ต่อต้านอิสลาม” ของรัฐบาลอิหร่าน เเละเรียกร้องให้ประเทศอิสลามตัดความสัมพันธ์กับรัฐบาลอิหร่านในปัจจุบัน…….

มัรยัม ร็อญาวี คือใคร ?

มัรยัม ร็อญาวี ชื่อเดิม ”  Maryam Ghajar Azdanlo” เกิดในปี ค.ศ.1953 (ปีอิหร่าน)  เขาเป็นผู้นำสภาต่อต้านอิหร่าน หรือ National Council of Resistance of Iran (NCRI)  ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของขบวนการประชาชนมุญาฮิดีนอิหร่านหรือ เอ็มเคโอ(MKO)

มัรยัม ร็อญาวี เป็นภรรยาของ มัสอูด ร็อญาวี อดีตผู้นำของขบวนการประชาชนมุญาฮิดีนอิหร่าน หรือ เอ็มเคโอ (MKO)

ในปี ค.ศ.1983 เขาได้หนีออกจากประเทศอิหร่าน และเดินทางเข้าประเทศเยอรมนี จากนั้นเข้าฝรั่งเศสแล้วและยังคงดำเนินกิจกรรมเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง

ในปี ค.ศ.1989 เขาได้ขึ้นมาเป็นเบอร์หนึ่งของเอ็มเคโอ (MKO)  และทำหน้าที่ควบคู่กับมัสอูด ร็อญาในการปฏิบัติภารกิจของการเป็นผู้นำสภาต่อต้านอิหร่าน

ตั้งแต่ปี ค.ศ.1986 เขาได้ออกคำสั่งให้มีการโจมตีทางทหารต่อสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน  และในเดือนเมษายน ปี  ค.ศ.1988 เขาได้ออกคำสั่งปฏิบัติการโจมตีอิหร่าน ภายใต้สโลแกน “แสงอันนิรันดร์”

ในปี ค.ศ.1993 เขาได้รับเลือกจาก สภาต่อต้านอิหร่าน หรือ National Council of Resistance of Iran (NCRI) ให้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้นำขบวนการประชาชนมุญาฮิดีนอิหร่านหรือเอ็มเคโอ (MKO)

มัรยัม ร็อญาวี ในปี 2004 หลังจากที่อเมริกาโจมตีอิรักและปลดอาวุธกองกำลัง MKO เขาได้หนีออกจากอิรักไปยังยุโรป และปัจจุบันนี้เขายังเป็นเบอร์หนึ่งของฝ่ายต่อต้านรัฐบาลอิหร่าน

ในปี 1979  มัรยัม ร็อญาวี ได้แต่งงาน กับ  มะห์ดี อับรีชามี หนึ่งในเจ้าหน้าที่ระดับสูงของเอ็มเคโอ  และในปี 1985  ได้หย่าร้าง  ถัดจากนั้นไม่นานก็ได้แต่งงานใหม่กับ มัสอูด ร็อญาวี  ซึ่งการแต่งงานใหม่ครั้งนี้ในมุมมองของเอ็มเคโอ ถือว่าเป็นการปฏิวัติอุดมการณ์เพื่อสละอุทิศในการปลดปล่อยอิหร่าน

ประวัติก่อตั้ง (MKO)

ขบวนการประชาชนมุญาฮิดีนอิหร่านหรือเอ็มเคโอ (MKO) รู้จักกันในชื่อต่างๆเช่น กลุ่มมูจาฮีดีน เอ คลัค หรือเอ็มอีเค, กลุ่มกองทัพปลดปล่อยแห่งชาติอิหร่านหรือเอ็นแอลเอ  ขบวนการประชาชนมุญาฮิดีนอิหร่าน (พีเอ็มโอไอ), สภาเพื่อการต่อต้าน (เอ็นซีอาร์), องค์กรนักรบศักดิ์สิทธิ์แห่งประชาชนอิหร่านและ สมาคมนักเรียนมุสลิมอิหร่าน ซึ่งถูกมองว่าเป็นองค์กรบังหน้าที่ไว้ใช้ดำเนินการจัดหาทุนสนับสนุน

กลุ่มเอ็มเคโอ ถูกจัดตั้งเมื่อปี ค.ศ.1960 โดยกลุ่มนักศึกษาชาวอิหร่านที่ต่อต้านรัฐบาลพระเจ้าชาห์ ซึ่งปกครองอิหร่านอยู่ในขณะนั้น โดยมองว่ารัฐบาลพระเจ้าชาห์ถูกอิทธิพลจากชาติตะวันตกครอบงำอย่างมาก

กลุ่มเอ็มเคโอ ได้รับการสนับสนุนมากขึ้นเรื่อยๆ จนพัฒนากลายเป็นกลุ่มติดอาวุธต่อต้านรัฐบาลขนาดใหญ่และมีการเคลื่อนไหวมากที่สุดในอิหร่าน โดยมีอุดมการณ์ความคิดผสมผสานระหว่างลัทธิมาร์กซ์กับศาสนาอิสลาม  กลุ่มเอ็มเคโอ จะดำเนินกิจกรรมต่อต้านรัฐบาลอิหร่านอย่างกว้างขวางทั่วโลกโดยมุ่งเป้าทำลายผลประโยชน์ของรัฐบาลอิหร่านทั้งภายในและต่างประเทศ ด้วยวิธีการเผยแพร่การโฆษณาชวนเชื่อและปฏิบัติการก่อการร้าย

ในช่วงปี 1970 กลุ่มเอ็มเคโอ ได้ทำการก่อการร้ายภายในอิหร่านและสังหารเจ้าหน้าที่สหรัฐทั้งทหารและพลเรือนซึ่งทำงานอยู่ในโครงการทางทหารในกรุงเตหะรานและยังเป็นกลุ่มที่ให้ความสนับสนุนการเข้ายึดสถานทูตสหรัฐประจำอิหร่านเมื่อปี 2522 และโจมตีสถานทูตอิหร่านประจำประเทศต่างๆ อีก 13 ชาติในเดือนเม.ย. ปี 1992

ในช่วงทศวรรษที่ 1980 ผู้นำกลุ่มเอ็มเคโอ ถูกรัฐบาลอิหร่านกวาดล้างอย่างหนักจนต้องลี้ภัยไปต่างประเทศ โดยผู้นำบางส่วนหลบหนีไปอยู่ที่ฝรั่งเศสขณะที่ส่วนใหญ่เข้าไปตั้งรกรากอยู่ในอิรัก

กองกำลังติดอาวุธหลายพันคน ซึ่งรวมตัวกันภายใต้กลุ่มที่มีชื่อว่า กองทัพปลดปล่อยแห่งชาติอิหร่านของกลุ่มมูจาฮีดีน เอ คลัค มีฐานที่มั่นอยู่ในอิรัก โดยนอกจากจะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลอิรักแล้ว กลุ่มก่อการร้ายนี้ยังอาศัยองค์กรบังหน้าเพื่อจัดหาเงินทุนสนับสนุนจากองค์กรของอิหร่าน

ขบวนการประชาชนมุญาฮิดีนอิหร่านลี้ภัยไปยังอิรักในปี 1986 ที่นั่น กลุ่มนี้ได้รับการปกป้องจากประธานาธิบดี ซัดดัม ฮุสเซน ซึ่งต้องการให้เอ็มเคโอช่วยจัดการกับชาวเคิร์ดและชาวชีอะห์ในอิรัก เอ็มเคโอยังได้เข้าร่วมกองทัพอิรักในช่วงทำสงครามกับอิหร่าน ระหว่างปี 1980-1988 ซึ่งอิรักยังคงได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐฯ

กลุ่มนี้ใช้ปฏิบัติการโจมตีอิหร่าน แม้ตนเองจะเป็นคนสัญชาติอิหร่าน ทำให้รัฐบาลและประชาชนอิหร่านไม่พอใจและแค้นกลุ่มนี้มาก ทั้งๆ ที่เดิมสมัยที่ตั้งกลุ่มและต่อสู้กับระบอบการปกครองของกษัตริย์ชาห์ ก็มีประชาชนสนับสนุนกลุ่มมูจาฮีดีนมากพอสมควร แต่พอไปจับมือกับ ซัดดัม ฮุสเซน ที่คนอิหร่านมองว่าทำร้ายคนอิหร่านจึงทำให้เสียความนิยมจากคนอิหร่านไป

เหตุการณ์พลิกผันไปมา หลังสงครามอิรัก-อิหร่านเสร็จสิ้น กลุ่มมูจาฮีดีนมีฐานอยู่ในอิรัก กระทั่งเกิดสงครามอ่าวเปอร์เซียครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.1991 สหรัฐอเมริกาเข้าไปทำสงครามในคูเวต หลังจากอิรักบุกคูเวต อเมริกาจึงเข้าไปปลดปล่อย และจัดตั้งกรีนโซนในอิรัก ช่วงนั้นก็ยังมีการเคลื่อนไหวของกลุ่มมูจาฮีดีนเพื่อต่อต้านรัฐบาลอิหร่าน อยู่บ่อยๆ

จุดเปลี่ยนสำคัญก็คือช่วงสงครามอ่าวเปอร์เซียครั้งที่ 2 ในปี ค.ศ.2003 สหรัฐใช้กำลังทหารโค่นล้ม ซัดดัม ฮุสเซน เมื่อสหรัฐเข้าไป ก็สามารถจับกุมกลุ่มติดอาวุธได้จำนวน 6-7 พันคน กลุ่มมูจาฮีดีนถูกแบล็กลิสต์อยู่ในหลายประเทศในยุโรปว่าเป็นกลุ่มก่อการร้าย แต่เป็นที่น่าแปลกใจ เพราะเมื่อสหรัฐจับขบวนการเอ็มเคโอได้ กลับไม่ทำอะไรกับกลุ่มเอ็มเคโอเลย เข้าใจว่าสหรัฐคงมีข้อตกลงลับอะไรกันบางอย่างกับเอ็มเคโอ เพราะแม้ในสายตาของสหรัฐกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มก่อการร้าย แต่กลับไม่ดำเนินการอะไร ซ้ำยังปล่อยให้เคลื่อนไหวต่อไป

สิ่งสำคัญก็คือ ปรากฏว่าตั้งแต่ปี ค.ศ.2003 เป็นต้นมา สหรัฐอเมริกาได้ข้อมูลเชิงลับในเรื่องโครงการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของ อิหร่านจากกลุ่มเอ็มเคโอ แล้วนำมาเล่นงานอิหร่าน สะท้อนว่ากลุ่มมูจาฮีดีนกับสหรัฐมีความร่วมมือกัน”
การก่ออาชญากรรม

เอ็มเคโอมีคามสัมพันธ์และความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานความมั่นคงอิรักยุคสมัยของซัดดัมฮุเซ็น  หลังจากที่ซัดดัมฮุเซ็นถูกโค่นล้ม ได้พบเอกสารและข้อมูลลับจำนวนมากเกี่ยวกับเอ็มเคโอ

อาชญากรรมที่เอ็มเคโอก่อไว้สามารถกล่าวโดยสังเขปดังนี้

1    วางระเบิด สำนักงานใหญ่ของพรรคญุมฮูรียอิสลาม ทำให้ ดร. เบเฮชตี้และ สส. อีก 72  คนเสียชีวิต

2   อยู่เบื้องหลังในการลอบวางระเบิด มุฮัมมัด ญะวาด บอฮุนัร นายกรัฐมนตรีอิหร่าน

3   ในช่วงสองปี คือ ปี 1981-1982 ได้ลอบสังหารพลเรือนผู้บริสุทธิ์ในกรุงเตหะรานจำนวน 366  คน   ซึ่งในจำนวนดังกล่าว ร้อยละ 53  เป็นข้าราชการ  และร้อยละ 36   เป็นเจ้าหน้าที่ในกองทัพ ตำรวจและหน่ยวงานอาสาสมัคร

4   ลอบสังหารบรรดาอิมามนำนมาซ เช่น  อยาตุลลอฮ์ ศ็อดูกีย์ (อิมานนำนมาประจำเมืองยาซด์)  อยาตุลลอฮ์ ดัสฆียบ์(อิมามนำนมาซประจำเมืองชีราช)  อยาตุลลอฮ์ มาดานี (อิมามนำนมาซในจังหวัดตับรีซ) ซึ่งบุคคลที่ถูกสังหารดังกล่าวล้วนแล้วมีอายุ 70  ปีกว่า

5   ในปี 1996   ได้เริ่มการลอบสังหารและการทำลายอิหร่านรอบใหม่ภายใต้คำสั่งของซัดดัม ฮุเซ็น  ได้สังหารซัยยิด อะสาดุลลอฮ์ ลาญุรดี อดีตอัยการและอดีตหัวหน้าของเรือนจำศาลปฏิวัติ  โดยมือปืนสองคนที่ถูกส่งมากจากเอ็มเคโอ

6   ในปี 1999   ลอบสังหารนายพล ศ็อยยาด ชีราซีย์

และการก่ออาชญากรรมอื่นอีกจำนวนมาก ซึ่งสรุปแล้วเอ็มเคโอได้สังหารพลเรือนอิหร่านมากถึง 12000  คน
อนึ่ง ในช่วงสงคราม 8 ปีระหว่างอิรักกับอิหร่าน ค.ศ.1980-1988 กลุ่มนี้ได้เข้าไปเคลื่อนไหวในอิรักเพื่อต่อต้านรัฐบาลอิหร่าน โดยในช่วงสงคราม กลุ่มมูจาฮีดีนไปผูกมิตรกับ ซัดดัม ฮุสเซน (ผู้นำอิรัก) ซึ่งซัดดัมเองก็สนับสนุนกลุ่มมูจาฮีดีนเพื่อต่อสู้กับอยาตุลเลาะห์ โคมัยนี เป้าหมายของมูจาฮีดีนคือการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองในอิหร่าน

“เอ็มเคโอ” ถูกรู้จักในประเทศหลังเหตุระเบิดที่สุขุมวิท

“เอ็มเคโอ” หรือขบวนการประชาชนมูจาฮีดีน ซึ่งชาติตะวันตกหลายประเทศขึ้นบัญชีดำว่าเป็นกลุ่มก่อการร้าย
เอ็มเคโอถูกรู้จักในประเทศไทย หลังเหตุระเบิดที่สุขุมวิท และสติ๊กเกอร์ปริศนา “SEJEAL” เมื่อต้นปี 2012 โดยรัฐบาลอิหร่านระบุว่าการก่อวินาศกรรมดังกล่าวเป็นฝีมือของเอ็มเคโอที่ต้องการใส่ร้ายอิหร่าน

ทางด้านผู้นำมุสลิมชีอะห์ในประเทศไทยเปิดเผยว่า ผู้ต้องสงสัย 4 ราย ที่ก่อเหตุระเบิดบริเวณถนนสุขุมวิท 71 ล้วนเป็นสมาชิกของขบวนการประชาชนมุญาฮิดีนอิหร่าน (เอ็มเคโอ หรือชื่ออื่นๆ คือ เอ็มอีเค เอ็นซีอาร์ และพีเอ็มโอไอ)ซึ่งเป็นกลุ่มก่อการร้ายที่ต่อต้านรัฐบาลเตหะราน
ซัยยิดสุไลมาน ฮูซัยนี ประธานสถาบันศึกษาอัล-มะห์ดีย์ ผู้นำศาสนาอิสลามนิกายชีอะห์ไทย ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนว่า ผู้ต้องสงสัยร่วมกันก่อเหตุระเบิดเมื่อวันอังคารที่แล้ว (14) ทั้ง 4 ราย เป็นสมาชิกขบวนการประชาชนมุญาฮิดีนอิหร่าน
ฮูซัยนีระบุว่า กลุ่มเอ็มเคโอไม่เป็นที่รู้จักสำหรับหน่วยงานความมั่นคงไทย แต่ “เอ็มเคโออยู่ในรายชื่อกลุ่มก่อการร้ายของกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ ตั้งแต่ปี 1997 และมีประวัติเคยก่อเหตุหวังโค่นล้มการสถาปนารัฐอิสลามอิหร่าน ดูเหมือนกลุ่มนี้พยายามก่อเหตุเพื่อโยนความผิดให้อิหร่าน”

ทางด้านนักวิชาการอิสลาม อาจารย์ ศราวุฒิ ได้อธิบายถึงจุดเปลี่ยนของกลุ่มเอ็มเคโอว่า “ช่วงที่อิรักมีรัฐบาลใหม่ภายใต้การนำของพรรคมุสลิมสายชีอะห์ ซึ่งมีความสัมพันธ์อันดีกับอิหร่าน รัฐบาลใหม่ของอิรักก็บอกให้กลุ่มเอ็มเคโอถอนฐานที่มั่นออกไปจากอิรัก ให้กลับไปอิหร่านหรือประเทศที่สาม ตรงนี้เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้ขบวนการเอ็มเคโอต้องเคลื่อนไหวภายนอก ประเทศ ทำให้ขบวนการถูกกดดันอย่างมาก บางส่วนกลับไปที่อิหร่าน และใช้ปฏิบัติการลับในลักษณะโจมตีนักการทูตและบุคคลสำคัญของอิหร่านหลาย ครั้ง โดยมีข้อมูลหลักฐานยืนยันชัดเจน
มาถึงเหตุการณ์ระเบิดในกรุงเทพฯ สิ่งที่อิหร่านพยายามบอกเราก็คือ กลุ่มผู้ต้องหาบางคนที่ถูกจับกุมเป็นสมาชิกของกลุ่มมูจาฮีดีนที่มีความ เชื่อมโยงสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกาและอิสราเอล ฉะนั้นเมื่อเกิดระเบิดในประเทศไทย และคนที่ถูกจับได้เป็นสมาชิกมูจาฮีดีน ก็แสดงว่าได้รับสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกาและอิสราเอล

ข้อมูลจากทางอิหร่านระบุว่า คนที่ขาขาดเป็นหนึ่งในสมาชิกมูจาฮีดีน ทำให้เรื่องซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ก่อนหน้านี้เราสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นคนอิหร่านจากกลุ่มไหนก็ตามเข้ามาเพื่อ สังหารนักการทูตของอิสราเอล ถ้าสมมติว่าเรื่องที่อิหร่านพูดเป็นความจริง ก็หมายถึงว่าขณะนี้บ้านเรากำลังถูกใช้เป็นฐานในการสร้างเรื่องเพื่อโยนบาป ทั้งหมดไปให้อิหร่าน

กลุ่มเอ็มเคโอไม่ได้เน้นหนักเรื่องหลักการศาสนา แต่เป็นกลุ่มอุดมการณ์ทางโลก เน้นสังคมนิยม พฤติกรรมของสมาชิกเกือบทั้งหมดไปนั่งดื่มเหล้ากอดสาวในบาร์ที่พัทยา   ……..

ซาอุหนุนหลังกลุ่มเอ็มเคโอ

เจ้าชาย ตุรกี อัลไฟซอล  อดีตหัวหน้าข่าวกรองซาอุดิอาระเบียเข้าร่วมงานประชุมสัมมนาของ เอ็มเคโอ ปี 2016 ในกรุงปารีส

ในที่ประชุมเจ้าชาย ตุรกี อัลไฟซอล  อดีตหัวหน้าข่าวกรองซาอุดิอาระเบีย ประกาศให้การสนับสนุนกลุ่มเอ็มเคโออย่างเป็นทางการ โดยกล่าวชื่นชมมัรยัม ร็อญาวี ในการกล่าวปราศรัยถึงสองครั้งด้วยกัน

ในช่วงปีล่าสุด ซาอุดิอาระเบียเริ่มผูกสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับเอ็มเคโอ  โดยล่าสุด (ปี 2016)  กษัตริย์ซัลมาน  บิน อับดุลอาซิส แห่งซาอุดิอาระเบีย ได้เชิญ มัรยัม ร็อญาวี หัวหน้าเอ็มเคโอ เป็นแขกของกษัตริย์ในการเดินทางไปแสวงบุญประกอบพิธีฮัจญ์ ณ ประเทศซาอุดิอาระเบีย