โดย เชค อะฮ์มัด บูจิ
บทนำ
การผลิตและพัฒนาวิชาการในอารยธรรมอิสลามทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติเป็นสิ่งที่ได้รับความสนใจเป็นการเฉพาะ สิ่งที่แสดงให้เห็นถึงรูปแบบของการพัฒนานี้ ก็คือแหล่งที่มาหลักของชาวมุสลิม (คัมภีร์กุรอานและซุนนะฮฺหะดีษ) และศาสนาอิสลามไม่ได้ขัดแย้งกับวิชาการและอารยธรรม และสำหรับอีกด้านหนึ่งก็คือว่า ในการวก่อกำเนิดอารยธรรมอิสลามนั้น ประชาชาติผู้มีอารยธรรมอื่น ล้วนมีบทบาทและอิทธิพลต่อการพัฒนาของอารยธรรมอิสลาม โดยที่ชาวมุสลิมได้ใช้ประโยชน์จากวิชาการต่างๆของอารยธรรมอื่น แต่ทว่ามุสลิมมิใช่ผู้บริโภคและลอกเลียนแบบวัฒนธรรมอื่นเพียงเท่านั้น พวกเขาได้ทำการวิเคราะห์ จำแนกแยกแยะอารยธรรมเหล่านั้น อีกทั้งนำไปสู่การวิวัฒนาการทางวิชาการ โดยที่ให้สอดคล้องกับหลักคำสอนของอิสลามในเวลาต่อมา ซึ่งในช่วงหลายหลายศตวรรษจะเห็นการพัฒนาทางวิชาการต่างๆ ได้แก่ คณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ เคมี ฟิสิกส์ การแพทย์และอื่นๆ ประวัติศาสตร์ของแต่ละชนชาติ วัฒนธรรมและอารยธรรมเป็นสิ่งที่มีบทบาทสำคัญต่อการระบุถึงมรดกทางวิชาการ เพราะปรากฏการณ์ทางวิชาการคือผลจากความคิดของพวกเขา อิสลามไม่ใช่แค่เพียงส่งเสริมและสนับสนุนการแสวงหาความรู้ของมุสลิมเท่านั้น ยังเปิดโอกาสให้ใช้ประโยชน์จากความก้าวหน้าทางวิชาการและอารยธรรมของชนชาติอื่นอีกด้วย และสิ่งนี้เป็นเสมือนบริบทที่สำคัญต่อการพัฒนาทางวิชาการ และส่งผลทำให้มุสลิมไม่เพียงแค่ใช้ประโยชน์ทางวิชาการของชนชาติอื่นอย่างเดียว แต่กลับเป็นผู้คิดค้นและวางรากฐานศาสตร์วิชาการด้วยเช่นกัน ด้วยเหตุนี้อารยธรรมอิสลาม จึงเป็นอารยธรรมที่ทรงอิทธิพลที่สุด และยังได้ฟื้นฟู อีกทั้งชุบชีวิตอารยธรรมก่อน ซึ่งในบทความนี้ เราจะโดยการวิเคราะห์ข้อมูลทางประวัติศาสตร์และเปรียบเทียบ เพื่อพิสูจน์ว่าชาวมุสลิมเป็นผู้ค้ำประคองดวงตะเกียงของอารยธรรมก่อนหน้าไม่ให้ดับลง อีกทั้งได้พัฒนาวิชาการต่างๆ ที่ไม่เคยมีมาในอารยธรรมก่อนๆ แม้นกระทั่งอารยธรรมตะวันตกในปัจจุบัน ต่างก็เป็นหนี้โลกอิสลามและอารยธรรมอิสลามมาก่อนแล้ว
ทัศนคติของอิสลามที่มีต่อวิชาการและอารยธรรม
พีระมิดของวิถีชีวิตมนุษย์ ประกอบด้วย ศาสนา วัฒนธรรมและอารยธรรม โดยที่ไม่สามารถค้นพบวัฒนธรรมและอารยธรรมใดๆของมนุษย์ เว้นแต่จะมีเรื่องของศาสนาอยู่ด้วย [1]
ฟูซตัน ดูโคลานซ์ ชาวฝรั่งเศสเชื่อว่า ทั้งอารยธรรมและการอยู่ร่วมทางสังคมของมนุษย์เป็นสิ่งที่ควบคู่มาแต่เดิม โดยที่ได้รับอิทธิพลโดยตรงจากศาสนา [2]
เพื่อให้เห็นและเข้าใจถึงอิทธิพลของศาสนาอิสลามที่มีต่อความก้าวหน้าทางวิชาการและวัฒนธรรม ในขั้นต้นจะต้องทำความรู้จักกับพื้นฐานหลักทางทฤษฎีของอิสลามก่อนว่า ในศาสนาอิสลามหลักการหลักจักต้องได้มาจากคัมภีร์กุรอาน ซุนนะห์ของศาสดา และกิจวัตรของอะหฺลิลบัยต
อิสลามได้ปรากฏขึ้นในช่วงที่ความอวิชาได้ปกคลุมไปทั่ว โดยเฉพาะบริเวณคาบสมุทรอาหรับในยุคนั้น จำนวนผู้ที่มีการศึกษาสามารถนับนิ้วมือได้ ในอิหร่านความรู้และวิชาการก็ตกเป็นของชนชั้นที่จำเพาะเพียงเท่านั้น ซึ่งคนส่วนมากต่างหมดสิทธ์ในสิ่งนั้น แต่สำหรับอิสลามได้เน้นและให้ความสำคัญกับการศึกษาหาความรู้เป็นอย่างมาก โองการแรกจากวิวรณ์ของพระเจ้าที่มีให้กับศาสนทูตของพระองค์ เริ่มต้นด้วยคำว่า จงอ่าน [3]
ในคัมภีร์กุรอานคำถามเชิงปฏิเสธเพื่อให้ขบคิด อาทิเช่น ผู้รู้กับผู้ที่ไม่รู้เหมือนกันหรือ? อันที่จริงแล้วนั้นผู้ที่ฉลาดต่างหากเล่า ที่จะยอมรับการตักเตือน [4] ซึ่งเป็นที่ชัดเจนว่าเกียรติยศที่เหนือกว่านั้นเป็นของผู้ที่ใตร่ตรองและมีความรู้ต่างหาก
กุรอานเป็นคัมภีร์ที่มาขจัดความอวิชา อีกทั้งได้ยกย่องผู้มีศรัทธาและผู้มีความรู้โดยการยกฐานันดรของพวกเขา ดังที่พระองค์ทรงตรัสว่า [5]
(یَرْفَعِ اللَّهُ الَّذِینَ آمَنُوا مِنْکُمْ وَالَّذِینَ أُوتُوا الْعِلْمَ دَرَجَاتٍ)
ในทัศนะของอิสลาม ความรู้ที่จะทำให้มนุษย์สูงส่งกว่าเทวทูต(มะลาอีกะห์) และสามารถเป็นตัวแทนของพระผู้เป็นเจ้าบนโลกนี้ ดังที่พระองค์ตรัสในคัมภีร์กุรอานว่า [6]
(إِنَّمَا یَخْشَی اللَّهَ مِنْ عِبَادِهِ الْعُلَمَاءُ)
ในวจนะและสายรานงานต่างๆ จากบรรดามะอฺศูม (อ.) ก็ไม่มีเรื่องใดที่จะได้รับการกำชับและเน้นย้ำเท่ากับการแสวงหาความรู้
กิจวัตรและพฤติกรรมของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ก็ได้เน้นย้ำถึงเรื่องการแสวงหาความรู้ เมื่อครั้งที่ศาสดาพบว่ามีคนสองกลุ่มในมัสยิด โดยที่กลุ่มหนึ่งกำลังประกอบศาสนกิจ และอีกกลุ่มหนึ่งกำลังสนทนาทางวิการและแลกเปลี่ยนความรู้กันอยู่ ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้ยกย่องคนทั้งสองกลุ่ม แต่ขณะเดียวกันท่านถือว่าการสนทนาทางวิชาการนั้นประเสริฐกว่า และท่านก็ร่วมการสนทนาครั้งนั้นด้วย [7]
ดังนั้นทั้งอัล-กุรอานและซุนนะฮฺถือว่าเป็นแหล่งที่มาหลักของวิชาการและการก่อร่างของอารยธรรม และอิสลามก็ให้ความสำคัญเป็นอย่างมากเกี่ยวกับวิชาการและความรู้ ซึ่งคำว่า อิลมฺ- علمทั้งรากศัพย์หรือรูปคำที่ถูกผัน จะถูกใช้ในอัล-กุรอานมากกว่า 750 ครั้ง และอีกด้านหนึ่งในอัล-กุรอาน จะใช้สำนวนที่ว่า
«أَفَلا تَعْقِلُونَ، لَعَلَّهُمْ یَتَذَکَّرُونَ» และอื่นๆ ล้วนเป็นสิ่งที่เรียกร้องมนุษย์ไปสู่การขบคิด พิจารณา ถึงระบบและกระบวนการสร้าง ด้วยหลักของการใช้สติปัญญาทั้งสิ้น
ดังนั้น ตามที่ได้กล่าวไปข้างต้น คัมภีร์กุรอาน ได้เป่าวิญญาณใหม่อีกครั้ง ให้กับร่างอันกึ่งเป็นกึ่งตายของโลก ณ เวลานั้น อีกทั้งเปิดโลกแห่งวิชาการและวัฒนธรรมใหม่ ซึ่งสิ่งนี้สะท้อนให้เห็นถึงทัศนคติของอิสลามที่มีต่อวิชาการและอารยธรรม และการที่อารยธรรมอิสลามสามารถโดดเด่นกว่าอารยธรรมอื่นนั้น เป็นผลมาจากการให้ความสำคัญของอิสลามต่อวิชาการและการแสวงหาความรู้นั้นเอง
อิสลามกับการรองรับอารยธรรมก่อนหน้า:
ทุกอารยธรรมไหม่ที่เกิดขึ้น เป็นผลต่อเนื่องมาจากความรุ่งโรจน์ของอารยธรรมก่อนหน้า และเป็นมรดกที่สืบทอดกันมา ด้วยเหตุนี้ จะเห็นได้ว่าอิสลามก็รับเอาด้านบวกของอารยธรรมก่อนๆ ไม่ว่าอารยธรรมกรีก อินเดีย หรือเปอร์เซีย เพื่อนำไปสู่การพัฒนาวัฒนธรรมและอารยธรรมของตน จนได้มาซึ่งอารยธรรมไหม่ที่เป็นตัวของตัวเอง
ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงบางส่วนของอารยธรรมเหล่านั้นที่ส่งผลโดยตรงต่อการกำเนิดของอารยธรรมอิสลาม
อารยธรรมอิหร่านหรือเปอร์เซีย
อารยธรรมเปอร์เซียหนึ่งในอารยธรรมที่สำคัญและมีบทบาทในการพัฒนาอารยธรรมอิสลาม เป็นเพราะว่าอิหร่านมีความเก่าแก่และมีความมั่งคั่งด้านอารยธรรมมาอย่างยาวนาน และความก้าวหน้าทางวิชาการของอิหร่านในสมัยโบราณ เป็นผลมาจากความสนใจของผู้ปกครองที่มีต่อวิชาการ ซึ่งได้มีนโยบายให้แปลตำราวิชาการต่างๆ ทั้งจากภาษาอินเดีย ยูนาน และ เป็นภาษาพะห์ลาวีย์ [8]
คุณลักษณะที่สำคัญของชาวอิหร่านอีกด้านหนึ่ง ก็คือว่า พวกเขาสามารถที่จะยังคงรักษาเอกลักษณ์ที่เฉพาะทางวัฒนธรรมของตนเองเอาไว้ได้ ซึ่งแตกต่างกับพื้นที่อื่นที่เคยตกเป็นเมืองขึ้นหรืออยู่ภายใต้อนานิคมของอาณาจักรโรม แต่อิหร่านสามารถรักษาอักษรดั้งเดิมของภาษาฟาร์ซีเอาไว้ได้ แม้กระทั่งในช่วงต้นที่อารยธรรมและวัฒนธรรมอิสลามได้ขยายตัวและเข้ามาในอิหร่าน ถึงแม้นอิหร่านในตอนนั้นจะยอมรับบางส่วนที่สำคัญของวัฒนธรรมอิสลามก็ตาม ภาษอาหรับก็ไม่สามารถมาแทนภาษาฟาร์ซีได้ [9]
ปัจจัยอื่นๆ เช่นการขยายและเข้ามาแบบค่อยเป็นค่อยไปของวัฒนธรรมอิสลามในอิหร่าน การรู้จักมักคุ้นกันดีระหว่างทั้งสอง รวมทั้งความคล้ายคลึงกันของอิสลามและโซโรอัสเตอร์ [10] ส่งผลต่อการซึมซับเอาอารยธรรมอิสลามของชาวอิหร่านเป็นอย่างดี ในยุคนั้นศูนย์กลางทางวิการของอิหร่าน คือ ญันดี ชาพูร ซึ่งเป็นชุมทางเชื่อมต่อของวิชาการและอารยธรรมอื่นๆ ทั้งกรีก อินเดียและอิหร่าน
หลังจากการเข้ามาของอิสลามในอิหร่าน ศูนย์กลางทางวิชาการ ญันดี ชาพูร ก็ไม่ได้ล่มสลามไปในทันที สองศตวรรษหลังจากนั้น เมื่อกรุงแบกดแดดกลายศูนย์กลางวิชาการแห่งไหม่ของอิสลาม ศาสตร์วิชาการต่างๆ รวมทั้งนักวิชาการชาวอิหร่าน ที่ ญันดี ชาพูร ก็ย้ายไปที่แบกแดดด้วยเช่นกัน [11] ด้วยเหตุนี้ชาวอิหร่านมีบทบาทที่สำคัญยิ่งต่อการหว่านเม็ดพันธ์วัฒนธรรมและวิชาการอิสลาม แม้กระทั่งสามารถรุดหน้าชาวอาหรับในหลายแขนง [12]
ด้วยเหตุนี้ สิบสี่ศตวรรษของการเคียงคู่ระหว่างประวัติศาสตร์ของอิหร่านและอิสลาม ก็ได้ให้กำเนิดวัฒนธรรมที่มั่งคั่งและกว้างไหญ่ควบคู่กันไป
จากที่กล่าวมา ถือได้ว่าอิหร่านอิหร่านเป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกที่เก่าแก่ทางวัฒนธรรมและวิชาการ ที่ได้ทำการย้ายเอาวิชาการต่างๆ มาสู่อารยธรรมอิสลาม ซึ่งพอที่จะสรุปได้ใน 3 บทบาทที่สำคัญดังนี้ 1 นำเอาวิชาการของตนเองมาสู่โลกอิสลาม 2 นำเอาวิชาการของกรีก ที่ถูกแปลเป็นปาห์ลาวี(ฟาร์ซีโบราณ) และซีเรียมาสู่โลกมุสลิม 3. นำเอาศาสตร์บางอย่างของอินเดีย เช่น แพทย์ ดาราศาตร์ ประวัติศาสตร์ มาสู่โลกอิสลาม
นอกจากนั้นแล้ว ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชาวมุสลิมยังได้ทอดแบบการบริหารราชการและแม้กระทั่งตราอากรต่างๆ มาจากชาวอิหร่าน และภาษาที่ราชการที่ใช้ก็เป็นภาษาฟาร์ซี แต่หลังจากนั้นต่อมาได้เปลี่ยนเป็นภาษาอาหรับ [13]
และอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้อารยธรรมอิหร่านสามารถมีบทบาทและอิทธิพลต่ออารยธรรมอิสลามได้มาก คือการที่ชาวอิหร่านสามารถเข้าไปมีบทบาทในระบบการปกครองรวมทั้งมีอำนาจสิทธ์ ประกอบกับนักวิชาการของอิหร่านเป็นที่ชื่นชมของผู้ปกครอง โดยเฉพาะราชวงศ์อับบาซี และแม้กระทั่งก่อนการมาของอิสลาม คาบสมุทธอาหรับก็เคยรู้จักกับวัฒนธรรมและอารยธรรมอิหร่านมาก่อนแล้ว โดยผ่านพ่อค้าที่ใช้เส้นทางค้าขายผ่านมาทางเยเมน
ด้วยความสัมพันธ์อันแน้นแฟ้นระหว่างอารยธรรมอิสลามและอิหร่าน นักวิชาการผู้โด่งดังเฉพาะด้าน ไม่ว่าปรัชญา ดาราศาสตร์ การแพทย์ คณิตศาสตร์ หรือวรรณกรรมอาหรับ ก็เป็นชาวอิหร่านหรือมีต้นตระกูลเป็นชาวอิหร่านถึงแม้นจะมีที่พำนักหรืออาศัยในคาบสมุทธอาหรับก็ตาม [14]
อารยธรรมกรีก
อารยธรรมกรีกมีอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อม ต่ออารยธรรมอิสลาม การเดินทางค้าขายของชาวอาหรับกับแผ่นดินซีเรียและปาเลสไตน์ เป็นจุดเชื่อต่อระหว่างชาวอาหรับกับวัฒนธรรมระหว่างกรีกและโรมัน และจุดเริ่มต้นของการพิชิตข้ายึดครองแผ่นดินอียิปต์ ซีเรียและปาเลสไตน์โดยมุสลิม และเป็นเหตุทำให้มุสลิมได้ใกล้ชิดสัมผัสโดยตรงกับอารยธรรมกรีก ประกอบกับต่อมาราชวงศ์อุมัยยะห์ได้ทำการเปลี่ยนเมืองหลวงอิสลามจากมะดีนะห์เป็นดามัสกัส ทำให้ชาวมุสลิมได้มีโอกาสเข้าถึงอารยธรรมกรีกและโรมันได้ง่ายยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้ในเวลานั้น จะมีตำรับตำราทางเคมี ที่ถูกแปลจากภาษายูนานเป็นภาษาอาหรับ [15]
แม้ว่าอิทธิพลของอารยธรรมกรีกที่มีต่ออิสลาม ในเบื้องต้นเกิดขึ้นโดยผ่านสื่อกลาง เช่นแพทย์ ก็ตาม แต่หลังจากที่อเล็กซานเดอมหาราช ที่ได้ให้สโลแกนว่าวิถีชีวิตแห่งโลกนี้ วิชาการต่างๆ ของกรีกก็ถูกนำเข้าสู่อณาจักรอิสลามโดยการแปลเป็นภาษาอาหรับ โดยเฉพาะจากศูนย์กลางซานเดรีย หลังที่ศูนย์กลางกรุงเอเธนถูกปิดลง
สำหรับนวัฒกรรมการแปลนั้นแนวคิดเชิงสร้างสรรค์ ทั้งในอารยธรรมอิสลามและกรีก เพราะนอกเหนือจาการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ยังมีการแปลหนังสือทางการแพทย์ คณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ ปรัชญาและสมุนไพรทางการแพทย์สิ่งสำคัญ อีกด้วย [16] ดังนั้นในดินแดนอาหรับที่เป็นแหล่งกำเนิดของอิสลาม จึงมีความเกี่ยวพันธ์แบบใกล้ชิดกับอารยธรรมกรีกโรมัน และย่อมส่งผลอย่างมากต่อการรุดหน้าของอารยธรรมอิสลามในเวลานั้น
อารยธรรมอินเดีย
เหล่านักรบขของอิสลาม หลังจากที่สามารถพิชิตอินเดีย พวกเขาก็ได้รู้จักและสัมผัสกับอารยธรรมโบราณของชาวอินเดีย พร้อมกับกระจายอิสลามไปยังพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศนั้น [17] แต่ถว่าการกระจายและส่งออกอิสลาม ไม่ได้เกิดขึ้นในเวลาเดียวโดยทันที แต่จะเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่แตกต่างกันในประวัติศาสตร์ และเป็นไปทีละขั้นตอน
ในเวลานั้นอินเดียเพรียบพร้อมไปด้วย ผลงานทางวิชาการ ที่อาจส่งผลต่อการพัฒนาอารยธรรมอิสลาม ด้วยเหตุนี้เหล่าบรรดามุสลิมเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้ และได้ใชประโยชน์ทางวิชาการ เหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็น คณิตศาสตร์เรขาคณิต, แพทย์, ดาราศาสตร์วรรณกรรมและปรัชญาอินเดีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศอินเดียเสมือนเหมืองและขุมทรัพย์ทางดาราศาสตร์และปรัชญาด้วยในเวลานั้น [18]
ชาวมุสลิมนอกเหนือจากแปลหนังสือแล้ว ยังใช้ประโยชน์จากสถาปัตยกรรม ที่ทรงคุณค่าอันเป็นผลงานของการเขียนภาพภูมิทัศน์ธรรมชาติที่งดงามยิ่ง [19] โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผสมผสานเข้าด้วยกันระหว่างศิลปะสถาปัตยกรรมอิสลามและอินเดีย โดยใชเทคนิคสถาปัตยกรรมเปอร์เซีย ถือว่าเป็นการสร้างรูปแบบใหม่ให้กับงานศิลปะ
โดยรวมแล้วข้อมูลต่างๆ ทางวิชาการและปรัชญาอิเดียเข้าสู่โลกอิสลาม ได้หลายวิธีดังนี้
ตำราบางส่วนที่เป็นภาษาอินเดียและได้ถูกแปลเป็นฟาร์ซี ถูกนำมาใช้เป็นคู่มือการเรียนการสอน ณ ศูนย์กลางวิชาการ ญันดี ชาพูร ในยุคนั้น
บางส่วนของตำราวิชาการที่เป็นภาษาสันสกฤตถูกแปลภาษาอาหรับ โดยเจ้าหน้าที่แปลประจำสำนัก
ผลผลิตและมรดกทางวิชาการของอินเดีย ได้ถูกนำเข้าสู่โลกอิสลามโดยบุคคลที่มีชื่อเสียงเช่นอะบูรอยฮาน บีรูณีย์ ด้วยการเดินทางของเขาไปยังประเทศอินเดีย แล้วได้แปลวิชาการเหล่านั้นพร้อมกับนำกลับมาให้โลกมุสลิม
ความสัพัน์ทางการค้ากับประเทศอื่นๆ ก็ส่งผลไม่น้อยต่อการเข้ามาของอารยธรรมอินเดียในโลกมุสลิมและอารยธรรมอิสลาม [20]
อิสลามและการวิเคราะห์อารยธรรมก่อนๆ
แม้ว่าอารยธรรมอิสลาม จะเป็นผลผลิตที่มาจากอารยธรรมก่อนๆ ก็ตาม แต่ถึงกระนั้นก็ตาม ชาวมุสลิมก็หาใช่จะเป็นเพียงแค่ผู้รองรับเอาวัฒนธรรมและอารยธรรมเหล่านั้นเข้ามาแต่เพียงข้างเดียว แต่กลับได้ต่อเติมและเสริมแต่งให้อารยธรรมเหล่านั้นสบูรณ์ [21] และโดยพื้นฐานที่ได้มาจากคัมภีร์กุรอานและซุนนะฮฺ อิสลามกลับได้นำเสนออารยธรรมไหม่ ให้กับมนุษยชาติ นั้นหมายถึงว่า อิสลามได้ทำการแก้ไขจุดด้ยหรือข้อบกพร่องต่างๆ อีกทั้งเสริมแต่งอารยธรรมเหล่านั้นด้วยองค์ประกอบที่งดงามและดึงดูด จนทำให้อารยธรรมอิสลามเป็นอารยธรรมที่น่าหลงไหล
อิสลามได้เสนอแนวทางไหม่และสมบูรณ์เพื่อการพัฒนาและยกระดับชีวิตในทุกๆ ด้าน ซึ่งพื้นฐานทั้งหมดของอิสลามล้วนเป็นสิ่งที่สอดคล้องและตรงตามธรรมชาติเดิมที่บริสุทธ์ของมนุษย์ ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ที่อิสลามจะสามารถรองรับเอาวัฒนธรรมหรืออารยธรรมอื่น ที่วางอยู่บนหลักการอันเดียวกัน หรือใกล้เคียงกัน
พื้นฐานและแหล่งที่มาหลักของอิสลามต่างเรียกร้องให้มวลมุสลิมเข้าใจในข้อเท็จจริงอันนี้ โดยได้วางภูมิปัญญา อยู่บนพื้นฐานของความยุติธรรม และการพัฒนาทางจิตวิญญาณ วัฒนธรรมและอารยธรรมของอิสลามจึงได้เสนอพื้นฐานคุณค่าของมนุษย์ คือการมีความยำเกรง [22] โดยที่เชื้อชาติและเผ่าพันธ์ไม่ได้นำมาซึ่งเกียรติยศและคุณค่าใดๆ ให้กับมนุษย์ ดังนั้นเมื่อมีการเผชิญหน้าระหว่างอิสลามและวัฒนธรรม และอารยธรรมอื่น ๆ จะต้องวางอยู่บนพื้นฐานและอุดมการณ์ที่แข็งแกร่งนี้ และนั่นคือเหตุผลว่าทำไมในอารยธรรมอิสลาม จึงมีความก้าวหน้าทางวิชาการ ตลอดจนนำไปสู่การพัฒนา แลกเปลียน และวิวัฒนาการทางความรู้ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในหมู่นักวิชาการมุสลิม และอารยธรรมอิสลาม ทั้งหมดเหล่านี้เป็นผลพวงที่ได้รับมาจากการให้ความสำคัญของอิสลามต่อวิชาการและการแสวงหาความรู้
ผลที่ได้คือว่าศาสนาอิสลามเป็นแกนหลักของอารยธรรมอิสลาม ที่เกิดขึ้นจากการปฏิสัมพันธ์และมีฟิวชั่นอารยธรรมอื่นๆ [23] ด้วยเหตุนี้ C N. Menashe ได้อธิบายว่า ชีวิตที่อิสลามได้ให้กับอารยธรรมอิหร่าน เป็นเหตุให้อารยธรรมนี้กลับไปสู่ชีวิตใหม่อีกครั้ง หรือกรณีที่เนโร ได้เขียนว่า ศาสนาอิสลามเสมือนว่าได้สร้างชีวิตใหม่อีกครั้งกับศิลปะของอิหร่าน [24]
จากทั้งหมด สามารถกล่าวได้ว่า การปรากฏขึ้นและความรุ่งเรืองของอารยธรรมอิสลาม เป็นเหมือนความมหัศจรรย์ เหตุผลก็คือความนิยมในความรู้ ตลอดจนการรู้สึกอยากรู้อยากเห็น ซึ่งเป็นสิ่งที่กุรอานและสุนนะห์ได้ส่งเสริมไว้ในหมู่มุสลิม [25]
การกำเนิดของศาสตร์ต่างๆในอารยธรรมอิสลาม
คุณสมบัติหลักของวัฒนธรรมและอารยธรรมอิสลาม คือการเกี่ยวพันธ์และเชื่อต่อกับวิวรณ์แห่งฟากฟ้า ซึ่งพื้นฐานหลักทั้งหมดล้วนถูกวางอยูบนโลกทัศน์แห่งความเป็นเอกะ และเรียกร้องมนุษย์สู่หลักการใช้สติปัญญา การขบคิด และการเพ่งพินิจ
อิสลามด้วยโลกทัศน์เช่นนี้ ที่สามารถให้ชีวิตชีวากับ ศาสตร์และวิชาการต่างๆ ได้ และนำร่องเพื่อการสร้างและขยายอารยธรรมที่ทรงคุณค่า จนกระทั่งอารยธรรมตะวันตกที่สามารถประคับประคองตัวเองมาได้นั้น ก็เพราะผลพวงที่อารยธรรมอิสลามและวิชาการอิสลามได้มอบให้กับมนุษยชาติ
ส่วนวิวัฒนาการแปล ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนอารยธรรมก่อนๆ กับอารยธรรมอิสลามนั้น บทสนทนา ทำให้มรดกของอารยธรรมก่อนตกทอดมาถึงอิสลาม และจากนั้นต่อมา เมื่อารยธรรมอิสลามได้รุ่งเรือง จนส่งผลให้สามารถสร้างอารยธรรมไหม่ที่สมบูรณ์ ได้แล้วนั้น ตำรับตำราทางวิชาการต่างๆ ที่เป็นภาษาอื่น ก็ได้รับการแปลและถ่ายทอดโดยเจ้าของที่แท้จริง [26]
นั้นหมายถึงว่าตัวผู้แปลไม่เพียงแค่ถ่ายทอดจากภาษาหนึ่งไปสู่อีกภาษาหนึ่งเท่านั้น แต่ถว่พวกเขาเหล่านั้นยังได้ทำการรวบรวม และประพันธ์ ตำราวิชาการที่ทรงคุณค่า ในศาสตร์และสาขาต่างๆ อีกด้วย อะบูยูซุฟ ยะอฺกูบ กันดีย์ นอกเหนือจากผลงานด้านการแปลแล้ว เขายังได้เขียนหนังสือและบทความกว่า 265 เล่มขึ้น
ด้านคณิตศาสตร์ ถือว่าศตวรรษที่สามและสี่ เป็นยุคทองของศาสตร์นี้ เป็นเพราะว่า บรรดานักวิชาการมุสลิมประสบความสำเร็จอย่างงดงามในด้านนี้ [27] ตามความเป็นจริง ถ้าจะนับประวัติศาสตร์ของคณิตศาสตร์ควรเริ่มนับตั้งแต่สมัยคอรัซมี Khwarizmi [28] ซึ่งเขาเป็นคนแรกที่เขียนหนังสือและบทความในเรื่องคณิต และหนังสือของเขาก็ถูกนำไปใช้เรียนและสอนในยุโรปจนกระทั่งศตวรรษที่สิบหก และหนังสือด้านคณิต ขอเขาอัลญับรฺ ก็ยังเป็นที่ยอมรับตลอดมา [29]
ในทางดาราศาสตร์ นักวิชาการมุสลิม ได้ทำการวิเคราะห์ทฤษฎีของอินเดีย และผลงานของเปโตเลมีและอริสโตเติล ได้ค้นพบจุดต่างกับทฤษฎีดาราศาสตร์โบราณ ได้สร้างหอดูดาวที่ทันสมัย พร้อมกับติดตั้งเครื่องจักรและเครื่องมือที่ทันสมัยและพิเศษ และคิดค้นตัวเลขโหราศาสตร์ หอดูดาว Maragheh ก่อตั้งโดย คอเยะห์ นัศรุดดีน ฏูซี เป็นหอดูดาวที่ใหญ่ที่สุดในอารยธรรมอิสลามก็ว่าได้
ในวิชาฟิสิกส์และกลศาสตร์ ยะห์กูบ บินอิศฮาก กันดีย์ อิบนิมัยษัม อับดุลเราะห์มาน คอซะนีย์ และคนอื่นๆ และคนอื่น ๆ ได้สร้างผลงานอันเป็นประวัติการณ์ในโลก [30]
อิบนิมัยษัม ซึ่งเป็นที่รู้จักใรยุโรปว่า Alhazn เป็นที่รู้จักและมีชื่อเสียงระดับโลกด้วยหนัง อัลมะนาซิร ที่เขาได้เขียนขึ้น ซึ่งในหนังเล่มนั้นเขาได้ระบุถึงการสะท้อนของแสง [31]
วิล ดูแรนต์เขียนถึงกรณีนี้ว่า ถ้าไม่มีอิบนิมัยษัมแล้วนั้น ไม่ได้เข้ามาในชีวิตถ้า Rajrbykn [32] ก็จะไม่ปรากฏขึ้นมา
ญาบิร บินฮัยญาน สานุศิษของอิหม่าม ศอดิก(อ.) เป็นข้อพิสูจน์ที่ชัดเจนของศาสตร์ด้านเคมีในศตวรรษแรก และตามที่ ดร.กุสตาเลอร์บูนเขียนไว้ว่า งานประพันธ์ทางเคมีของญาบิรสารานุกรมวิชาการที่ว่าด้วยประเด็นทางเคมีทั้งหมด [33]
มูฮัมหมัด บินซะการียา รอซีย์ ได้ทำการตีความเคมี ว่าไม่ใช่เรื่องพ้นญาณวิสัย โดยเขาได้ทำการทดสอบทางเคมี และได้บทสรุปที่ต่างออกไปจากการทดสอบก่อน ซึ่งเขาได้วางรากฐานศาสตร์เคมีไหม่ด้วย [34] และเขาเป็นคนแรก ที่สามารถแยกผลิตภัณฑ์สารเคมีออกเป็นสามประเภท แร่, พืชและสัตว์ และประกาศว่าทุกกิจกรรมของสิ่งมีชีวิต จะขึ้นอยู่กับปฏิกิริยาทางเคมีที่ซับซ้อน [35]
แม้ว่าในศาสตร์การแพทย์ส่วนมากจะเป็นการแปลผลงานของนักวิชาการกรีกและอินเดียโดยมุสลิมก็ตาม แต่ก็มีหลายประเด็นใหม่ที่แพทย์อิสลามค้นพบ ก็เป็นที่ยอมรับของนักวิชาการอื่นๆ ด้วยเช่นกัน ในขณะที่ Dyvsqvryds ในหนังสือ Alhshaysh 450 ชนิดของยาที่ระบุไว้ ในอารยธรรมอิสลาม ณ เวลานั้นอิบนิบีฏอร ได้เอ่ยชื่อยา ถึง 2500 ชนิด
นอกจากนั้น ตามคำสั่งด้านสุขภาพที่อัลกุรอาน ศาสดาและอิมามมะอฺศูม มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัตณาการแพทย์อิสลาม ซึ่งไม่มีเคยมีมาก่อน และนอกจากนั้นแล้ว ตำราทางการแพทย์ก็ได้ถูกรวบรวมขึ้นเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังได้วางรากฐานทางการแพทย์อิสลามให้ประจักษ์อีกด้วย
การสร้างโรงพยาบาลที่ติดตั้งเครื่องมือ ทางการแพทย์ รวมทั้งมีผู้เชี่ยวชาญในเด็ก, การผ่าตัดและเครื่องมืออื่นๆ ล้วนเป็นความคิดและการริเริ่มโดยมุสลิมทั้งนั้น
เอ็ดเวิร์ดบราวน์ชาวภาษาอังกฤษได้เขียนไว้ว่า “มุสลิมคือผู้จุดประกายคบเพลิงทางการแพทย์ของ Hippocrates และเลน จากที่เกือบดับสนิท และหลังจากนั้นห้าศตวรรษก็ได้นำมันกลับส่องประกายอีกครั้งอย่างเจิดจรัส [36]
ไม่น่าแปลกใจที่มหาวิทยาลัยแพทย์ในกรุงปารีส ยังมีภาพเขียนรูปสี ของแพทย์สองท่านชาวมุสลิม คือรอซีย์ และอิบนิซินา แขวนติดอยู่ [37]
การกำเนิดวิวัฒนาการทางวิชาการในอารยธรรมอิสลามนั้นนอกเหนือจากคำสั่งเสียของอัลกุรอานและฮะดิษแล้วนั้น ยังมีปัจจัยอื่นที่ส่งผลต่อการพัฒนาวิชากร เช่น การพิชิตหัวเมืองต่างๆ อีกทั้งแนวคิดและทัศนะของนักวิชาการมุสลิมก็เป็นยอมรับ จนสามารถเข้าไปมีตำแหน่งที่สำคัญในระบบการปกครอง ทั้งที่ปรึกษา หรือผู้รู้แห่งราชสำนัก ก็มีส่วนต่อการรุดหน้าทางอารยธรรมของแผ่นอาณาจักรอิสลาม
เหมือนอย่างที่ได้กล่าวไป ในอารยธรรมอิสลามนั้น มีการค้นพบข้อมูลและความจริงด้านต่างๆ โดยเฉพาะ ข้อเท็จจริงทางศาสตร์และวิชาการที่สำคัญ และสิ่งนี้ที่เป็นสาเหตุของการกำเนิด หรือวิวัฒนาการทางความรู้ ที่ ณ วันนั้นไม่ใช่แค่มวลมุสลิมเท่านั้นที่ได้รับประโยชน์จากการค้นพบ หรือคิดค้นการพัฒนาทางวิชาการ ชนชาติอื่นที่ไม่ใช่อาหรับและไม่ใช่มุสลิมก็ยังได้รับประโยน์และอิทธิพลของอิสลามก็ยังส่งผลทางด้านบวกต่ออารยธรรมอื่นๆ อีกด้วย
ซึ่งวิวัฒนาการด้านนี้ของอิสลามและอารยธรรมอิสลามก็หาใช่ว่าจะหยุดนิ่งและสิ้นสุดลง ณ เวลานั้น ในปัจจุบันความสำเร็จทางวิชาการของนักวิชาการอิสลาม ก็ยังมีให้เห็นและเป็นที่ประจักษ์ต่อสายตามนุษย์ มานับต่อหลายครั้งแล้ว
สรุป
วิถีการดำเนินชีวิตของมนุษย์มาตั้งแต่ยุคแรก ไม่ว่าจะอยู่ในเชื้อชาติใด ศาสนาใด หรือความเชื่อใด ต่างต้องมีองค์ประกอบทางสังคมที่สำคัญ 3 ประการด้วยกัน นั่นคือ ศาสนา วัฒนธรรมและอารยธรรมของมนุษย์ยุคนั้นในสังคมนั้น และทั้งสามสิ่งนี้ล้วนมีความเกี่ยวพันธ์ต่อกัน
จุดกำเนิดของอารยธรรมหนึ่ง มาจากการรองรับอิทธฺพลของอารยธรรมก่อนๆ จะทางตรงหรือทางอ้อม อารยธรรมอิสลามก็เช่นเดียวกัน ส่วนหนึ่งนั้นรับอิทธิพลมาจากอารยธรรมก่อนๆ เช่น อารยธรรมอิหร่าน อินเดียและกรีก
หนึ่งในคุณลักษณะอันเด่นชัดของอารยธรรมอิสลาม ที่มีพื้นฐานหลักมาจากอัลกุรอานและสุนนะห์ คือการสอดคล้อง และดำเนินไปตามหลักธรรมชาติดั่งเดิมและบริสุทธ์ของมนุษย์ ซึ่งตรงกับหลักพื้นฐานทางสติปัญญา
อารยธรรมหนึ่งจะสามารถดำเนินต่อไปได้และเป็นมรดกตกทอดไปยังชนรุ่นหลัง หรือหมู่ชนอื่นนั้น ต้องมีการพัฒนาและวิวัฒนาการองค์ประกอบทุกด้านของอารยธรรมนั้น และสิ่งหนึ่งที่ส่งผลอย่างมากต่อความรุ่งโรจน์ทางวัฒนธรรมและอารยธรรมนั้น คือการมีการพัฒนาหรือวิวัฒนาการวิชาการ เพราะความรู้และวิชาการจะเป็นตัววัดถึงอิทธิพล ตลอดทั้งกำหนดทิศทางอนาคตของอารยธรรมนั้นด้วย
อิสลามได้ให้ความสำคัญต่อความรู้และการแสวงหาความรู้ ดังนั้นการกำเนิดขึ้นของวิชาการ หรือการพัฒนาทางวิชาการเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดในอารยธรรมของอิสลาม นับตั้งแต่วันที่อิสลามปรากฏขึ้นบนโลกนี้ อีกทั้ง ได้ทำให้วิชาการของมนุษยชาติ ได้ให้ซึ่งคุณค่าและประโยชน์อย่างเต็มที่กับมนุษย์และสรรพสิ่งอื่นๆ ด้วยเช่นกัน ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านเราสามารถเห็นการพัฒนาและวิวัฒนาการทางวิชาการของอิสลามได้อย่างชัดเจนในทุกๆด้าน จนสามารถที่จะกล่าวได้ว่า อารยธรรมอื่นที่สามารถดำรงอยู่ได้ ก็ด้วยความรุ่งโรจน์ของวิชาการและอารยธรรมอิสลามนั้นเอง ที่มีผลต่ออารยธรรมเหล่านั้น
เชิงอรรถ
[1] . ฮิญาซีย์ ฟัครุดดีน บาบาทของบรรดาศาสดาต่ออารยธรรมมนุษย์ หน้า 58
[2]. อ้างอิงเดิม
[3]. บทอะลัก โองการที่1ถึง5
[4]. บทซุมัร โองการที่ 9
[5]. บทมุญาดละห์ โองการที่ 11
[6]. บทฟาฏิร โองการที่ 28
[7]. อุศุลการฟีย์ เล่ม 1 หน้า 25และ42 บิฮารุ้ลอันวาร เล่ม 1 หน้า 202
[8]. มุฮัมมาดี วัฒนธรรมอิหร่านก่อนอิสลาม หน้า 65 เป็นต้นไป
[9] ญอน อะมาดี ตารีก วะ ตะมัดดุ้ลอิสลาม หน้า 74.
[10] . ฟราย ริชาต มีรอซบอสตอนี อิหร่าน หน้า 378
[11] มุซาวี สัยยิดฮาซัน ฟัรฮัง วะ ตะมัดดุ้ล ซอซอนีย์ หน้า65
[12] .ตารีกอิหร่าน ดัร กุรูน นุคุสตีน อิสลาม หน้า 239
[13] . อัลเฟะห์เรซ อิบนินะดีม หน้า 352และ353
[14] . อิบนิ คอลดูล มุกอตดิมะห์ เล่ม 2 หน้า1150
[15] . Rosental/10
[16] . อินติกอล อุลูม ยูนอนี เบะ ออลัม อิสลาม หน้า 21
[17] .ตะมัดดุ้ลอิสลา วะ อาหรับ หน้า244
[18] . อัตตะรีฟ บิตฏอบกอติ้ล อุมัม หน้า 153.
[19] . ตารีก ตะฟักกุร อิสลาม ดัรฮินดฺ หน้า 177
[20] . นักช ฟัรฮัง วะ ตะมัดดุ้ล อิสลามี ดัรบีดารี ฆัรบฺ หน้า 59.
[21] . คอรนอเมะหฺ อิสลาม หน้า 29.
[22] .. บทฮุญุรอต โองการที่ 13.
[23] . ตะมัดดุ้ลอิสลาม หน้า 13.
[24] . ตารีก ญะฮอน เล่ม 2 หน้า 1042.
[25] . คอรนอเมะห์ อิสลาม หน้า 34-35
[26] . คอรนอเมะห์ อิสลาม หน้า 49
[27] . ตะมัดดุ้ล อิสลาม ดัร อัศร อับบอซิญอน หน้า 347
[28] . อิลมฺ วะ ตะมัดดุ้ล ดัร อิสลาม หน้า 147
[29] . เซนเดฆีนอเมะหฺ รอยอฎี ดอนอน ดูวเระห์ อิสลามี หน้า 238และ239.
[30] . ฟัรฮัง วะ ตะมัดดุ้ล อิสลาม หน้า 43
[31] . ฟัรฮัง วะ ตะมัดดุ้ล อิสลาม หน้า 122และ123.
[32] . ตารีก ตะมัดดุ้ล เล่ม 4 หน้า 368
[33] . ตะมัดดุ้ล อิสลาม วะ อาหรับ หน้า 611-613.
[34] . ตารีก อิลมฺ หน้า 359.
[35] . ตารีก วะ ตะมัดดุ้ลอิสลาม หน้า 222.และ คอรนอเมะห์ อิสลาม หน้า 74.
[36] . ตารีก ฏิล อิสลามี หน้า104
[37] . ตารีก ตะมัดดุ้ล เล่ม 4 หน้า 317.