ความตึงเครียดระหว่างตุรกีและเนเธอร์แลนด์ สัญญาณการล่มสลายของนาโต

435

presstv – นักวิเคราะห์การเมืองเชื่อว่าความตึงเครียดที่เกิดขึ้นระหว่างตุรกีและเนเธอร์แลนด์เป็นสัญญาณการล่มสลายขององค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (นาโต)

David Lyndvrf  นักข่าวและนักวิเคราะห์การเมือง ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวเพรสทีวีเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา โดยทำการวิเคราะห์ความตึงเครียดระหว่างตุรกีและเนเธอร์แลนด์ในแง่ของความสัมพันธ์ระหว่างสหภาพยุโรปกับอังการา

เขากล่าวว่า “เป็นที่น่าสนใจว่า ประเด็นสำคัญที่ควรรู้คือตุรกีและเนเธอร์แลนด์เป็นสมาชิกของนาโต และสิ่งที่เรากำลังเห็นอยู่ในขณะนี้คือสัญญาณของการล่มสลายของนาโตอย่างช้าๆ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศอื่นๆ ในยุโรปตะวันตกที่เป็นสมาชิกนาโตมีมุมมองเชิงลบต่อตุรกี

ความตึงเครียดระหว่างสองประเทศเกิดขึ้นหลังจากที่เนเธอร์แลนด์ไม่ให้เครื่องบินของรัฐมนตรีต่างประเทศตุรกีเข้าประเทศ

การกระทำดังกล่าวเกิดขึ้นในขณะที่ว่าอังการาขู่อัมสเตอร์ดัมว่าถ้ารัฐบาลดัตช์ยกเลิกการเดินทางของ Chavshavghlv ทางตุรกีจะทำการพิจารณาเดินหน้าคว่ำบาตรเนเธอร์แลนด์

เออร์โดกาน ประธานาธิบดีตุรกี ได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์เนเธอร์แลนด์อย่างหนักและย้ำว่า การกระทำเช่นนี้ทำให้เราหวนระลึกการกระทำของพวกนาซีและอังการาจะทำการตอบโต้อย่างสาสม

นักวิเคราะห์กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้นาโตกำลังอยู่ภายใต้แรงกดดันหลายอย่างและความตึงเครียดระหว่างสมาชิกของนาโตยิ่งเพิ่มปัญหาขึ้นไปอีก

เขากล่าวว่า “ดังนั้นผมจึงคิดว่านี่ (ความตึงเครียด) เป็นจุดเริ่มต้นของการล่มสลายของนาโตและสหภาพยุโรป”

การเจรจาเพื่อให้ตุรกีเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปมีมานานแล้วแต่ล้มเหลวทุกครั้ง เมื่อปีที่ผ่านมาทางรัฐสภายุโรปได้ระงับการเจรจาและการพิจารณาตัดสินใจที่จะอนุญาตให้ตุรกีเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปเนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนและหลักนิติธรรมในตุรกี

เขากล่าวเสริมว่า มีอุปสรรคมากมายรวมทั้งโทษประหารชีวิตและการปราบปรามสื่อที่เป็นตัวสกัดกั้นเส้นทางของตุรกีที่จะเข้าร่วมสหภาพยุโรป

เขายังได้ชี้ถึงการลงประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อเพิ่มอำนาจของประธานาธิบดีตุรกี ว่า เออร์โดกาน ได้เพิ่มอำนาจบริหารของเขาขึ้นเพื่อจะทำให้เขามี “รัฐเผด็จการ” มากยิ่งขึ้น

นักวิเคราะห์รายนี้กล่าวเสริมว่า “ยิ่งเออร์โดกานมีความพยายามที่จะเพิ่มอำนาจของตนมากยิ่งขึ้น การเข้าร่วมสหภาพยุโรปของตุรกีก็จะเป็นเรื่องยากมากขึ้น ”

บางประเทศในยุโรปรวมทั้งเยอรมนีและเนเธอร์แลนด์ได้คัดค้านและต่อต้านแผนของประธานาธิบดีตุรกีที่จะเปลี่ยนรัฐธรรมนูญของระบบรัฐสภาเป็นระบบประธานาธิบดี

ประเทศตะวันตกได้แสดงความกังวลของพวกเขาต่อโครงสร้างของรัฐบาลประธานาธิบดีในตุรกีที่อาจไม่เป็นไปตามมาตรฐานประชาธิปไตยสิทธิและจำกัดอำนาจของรัฐสภาและเพิ่มอำนาจที่ไร้ขอบเขตให้กับประธานาธิบดี