รหัสยนัยแห่งความรักแบบเปอร์เซีย และการปรากฏในแนวทางซูฟีแห่งเอเชียอาคเนย์

2205
โดย  ศาสตราจารย์ นัศรุลลอฮฺ    พูรญะวาดี
ไรน่าน อรุณรังสี แปล
   

หลักการรหัสยนัยหรือแนวทางจิตวิญญาณแบบอิสลามซึ่งรู้จักกันทั่วไปในฐานะแนว ทางซูฟี เป็นแนวความคิดอย่างกว้างขวางของความเป็นระบบ ที่เป็นเอกภาพรวมกันเป็นปึกแผ่นแน่นหนาในแนวความคิดทางศาสนา และความศรัทธา ซึ่งปฏิบัติกันในหมู่ซูฟี มุสลิมทั่วไปในดินแดนอิสลามทั้งหมด นับเป็นเวลา 13 ศตวรรษมาแล้ว กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือว่าเมื่อมิติด้านจิตวิญญาณของอิสลามได้ถูกพัฒนามา ตั้งแต่เริ่มต้นของขบวนการบำเพ็ญตนในหมู่นักการศาสนา และบรรดาผู้บำเพ็ญพรต (ซุฮ์ฮาด) การปฏิบัติเช่นนี้ได้แพร่หลายกระจัดกระจายไปตามเมืองและหมู่บ้านต่างๆในตอน ต้น และช่วงที่สองศตวรรษที่ 7 และศตวรรษที่ 8 แหละแล้วขบวนการใหม่นี้ก็ได้เข้าไปสู่บริเวณเมโซโปเตเมีย เป็นหลักและได้เข้ามีการเรียกการปฏิบัติตามแนวนี้ว่า แนวทางซูฟีในช่วงดังกล่าวนั้นเกิดเป็นรูปแบบ และในที่สุดก็ได้เข้าไปแพร่หลายในซีเรียและอียิปต์ในทางตะวันตก ฟาร์ส อิศฟาฮาน  และคุรอซาน ในทางตะวันออก

แนวความคิดเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของแนวทางจิตวิญญาณดังกล่าวนี้ แม้ว่ามุสลิมส่วนมากจะได้มีส่วนร่วมดำเนินตามอย่างเรียบง่าย และในวีถีทางที่ค่อนข้างจะคับแคบในการมองประวัติศาสตร์ของแนวทางซูฟีหรือ แนวทางจิตวิญญาณแบบอิสลามก็ตาม  บรรดานักเขียนที่เป็นซูฟี ซึ่งถือว่า อยู่ในระดับชั้นครูเช่นเดียวกันกับบรรดาผู้รู้สมัยใหม่ต่างได้ยอมรับสาขา กลุ่มหรือสำนักต่างๆ ของแนวทางจิตวิญญาณในอิสลามมาตั้งแต่ศตวรรษต้นๆ สาขาต่างๆ เหล่านี้ได้ถูกก่อตัวขึ้นมาโดยซูฟีที่แตกต่างกัน  นั่นคือแตกต่างกันตามที่อยู่อาศัยในเมืองและตำบลต่างๆ หนังสือคู่มือซูฟี ที่เป็นที่รู้จักกันดีของอะบูบักร์ คาลาบาซี (ตายฮ.ศ.380/ค.ศ. 990) ที่ชื่อว่า “กิตาบุดตะอ์รูฟ” ได้อ้างถึงรายนามของบรรดาครูซูฟีจากเมืองต่างๆ และตำบลต่างๆ จากหนังสือเล่มนี้ชี้ให้เห็นความสำคัญของภูมิลำเนาในทางภูมิศาสตร์ในประวัต ติของลัทธิซูฟี  อะบูสะอัด ฆาร์กุชิ (ตาย ฮ.ศ.406/ค.ศ.1015 )ซึ่งเป็นซูฟีร่วมสมัยของ กะลาบาซี ได้กล่าวถึงกลุ่มซูฟีสองกลุ่มที่แตกต่างกันในศตวรรษต้นๆนั่นคือกลุ่มซูฟีใน คุรอซาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมืองนีชาปูร์ ซึ่งเป็นบ้านเกิดเมืองนอนของฆาร์กุชิ ซึ่งบุคคลผู้นี้ถูกขนานนามว่า มาลามาติส อีกกลุ่มหนึ่งคือซูฟีโนเมโส โปเตเมีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมืองแบกแดด พวกนี้ถูกขนานนามว่า พวกซูฟี ฉะนั้นตำแหน่งทที่สี่เรียกว่า ซูฟี ตาม ฆาร์กุชิ จึงเรียกแก่บรรดาสมาชิกของซูฟีเพียงกลุ่มเดียวเท่านั้น ตั้งแต่เริ่มต้นมา

อาจจะเป็นการยั่วเย้าที่จะชี้ให้ชัดลงไปถึงสำนักซูฟีที่มาจากเมืองต่างๆใน อิหร่าน อย่างเช่นชีราช  อิศฟาฮาน กุรูมีเยะฮ์ ซานญาน เรย์ บัสตาม นีชาปูร์ เมิร์ฟ ฮาร์ส ติรมีซ บัลค์ บุคอรอ และ ซะมัรคานด์ ทั้งหมดเหล่านี้เป็นแนวซูฟีอิหร่าน ฉะนั้นเป็นการชี้ให้เห็นว่าสำนักนี้แตกต่างจากสำนักที่อยู่ในแบกแดด ซีเรีย และอียิปต์ แต่การจำแนกแบบนี้มิได้ให้ภาพถูกต้องแต่อย่างใดแก่เราบรรดาซูฟีแห่งชีราซ และอิศฟาฮานนั้นใกล้ชิดกับบรรดาซูฟีในแบกแดดมากกว่าซูฟีแห่งอาเซอร์บัยญาน เรย์ และ คุรอซาน แม้แต่ในเมืองต่างๆ ของแคว้นคุรอซาน เองก็มีหลายสำนักที่แตกต่างกัน สำนักแห่งบุครอไม่เหมือนกันทีเดียวกับสำนักที่ได้พัฒนามาโดยบรรดาเชคในเตอร์ มิซ หรือ นีชาปูร์แม้แต่ในเมืองเดียวอย่างเช่น นีชาปูร์ ซึ่งมีหลายตำบลหรือหลายหมู่บ้านก็มีสาขาของแนวทางซูฟีที่แตกต่างกันในระยะ ต้นๆ ของประวัติศาสตร์แห่ง นีชาปูร์แล้ว นักปราชญ์ชาวฝรั่งเศส Jacquline Chabbi สามารถที่จะชี้ชัดกลุ่มต่างๆที่แตกต่างกันของบรรดาซูฟี เหล่านี้อย่างเช่นซูฟีที่เรียกว่า มาลามาติซ  มุตเตาวเวียสและควฃาร์รามียะฮ์ เรื่องราวต่างๆ ของเรา เกี่ยวกับกลุ่มเหล่านี้มีน้อยมากเหลือเกิน

แม้ว่าเราไม่อาจที่จะพูดถึงสำนักซูฟีของอิหร่านในยุคคลาสสิกในศตวรรษหลักๆ อย่างไรก็ตามก็ได้มีการพัฒนาเป็นแบบเฉพาะของกลุ่มซูฟีในอิหร่านซึ่งอาจจะ เรียกโดยใช้คำว่า เปอร์เซีย แนวทางซูฟีเปอร์เซียได้เจริญเติบโตขึ้นในคุรอซาน นับตั้งแต่ตอนกลางของศตวรรวษที่ 4  จนถึงกลางศตวรรษที่ 6 (ศตวรรษที่ 10  จนถึงศตวรรษที่ 12 ) แหละแล้วในไม่ช้าก็ได้กระจายแพร่หลายกันออกไปตามเมืองต่างๆ ในอิหร่าน และหลังจากนั้นก็ได้เคลื่อนไปยังเมืองต่างๆ ในเอเชียไมเนอร์ และเข้าไปในอนุทวีปอินเดีย

นักปราชญ์ชาวฝรั่งเศส   Jocquline Chobbi สามารถในการชี้ชัดกลุ่มต่างๆที่แตกต่างกันของบรรดาซูฟี เหล่านี้ อย่างเช่นซูฟีที่เรียกว่า มาลามาติซ, มุตเตาวเวียส และ คาร์รามียะฮ์ เรื่องราวต่างๆ ของเราเกี่ยวกับกลุ่มเหล่านี้ มีน้อยมากเหลือเกิน

 

อะไรคือสิ่งนี้ ที่เรียกว่าแนวทางซูฟีเปอร์เซีย  และอะไรคือลักษณะต่างๆ ที่ทำให้มันแตกต่างจากแนวทางซูฟี ซึ่งอยู่ในส่วนอื่นๆ ของโลกอิสลาม ?

ลักษณะเด่นชัดที่สุดเป็นประการแรกของ แนวทางซูฟี ที่ได้เจริญเติบโตขึ้นในคุรอซานนั่นก็คือการใช้ภาษาเปอร์เซียแทนภาษาอาหรับ ในการแสดงออกซึ่งแนวความคิด ความรู้สึกและสภาพลึกกลับทางจิตวิญญาณ (อะฮ์วาล) ภาษาเปอร์เซียได้ถูกนำมาใช้ในผลงานของบรรดาซูฟีชาวอิหร่าน และแม้กระทั่งบรรดานักศาสนาที่อยู่ในเมืองต่างๆ โดยเฉพาะในคูรอซาน นับตั้งแต่ศตวรรษที่2 ถึงศตวรรษที่ 8 ก็นิยมใช้ภาษาเปอร์เซีย เรารู้ว้าบรรดาซูฟีที่มีชื่อเสียงในช่วงศตวรรษที่ 3 ฮ.ศ / 9 ค.ศ. อาทิเช่น อะบูยาซีดมัซตามี และอะบูฮัฟส์  อัดดาด จากนีชาปูร์ และแม้แต่ฮาบีบ อัลอะญามี ( ฮะบีบชาวเปอร์เซีย) แห่งเมืองบัสเราะฮ์ ซึ่งได้แบ่งบานขึ้นในครึ่งแรกของศตวรรษที่ 2 ฮ.ศ / 8 ค.ศ. ก็พูดภาษาเปอร์เซีย และบางทีซูฟีส่วนมากก็ไม่รู้ภาษาอาหรับเลย   บทบาทที่ภาษาอาหรับได้สำแดงออกเพื่อจุด มุ่งหมายทางศาสนาในอิหร่านในช่วงศตวรรษต้นๆ นั้นได้ถูกกล่าวเกิดความจริงไปมากโดยบรรดาผู้รู้และนักประวัติศาสตร์คำสั่ง สอนในทางศาสนาที่กระทำกันอยู่ในคุรอซาน  ก็ใช้ภาษาของชาวบ้านทั่วไป    นั่นคือชาวบ้านส่วนมากพูดภาษาเปอร์เซียนีเป็นความจริงในเรื่องนี้ว่าบรรดาซู ฟีซึ่งส่วนมากแล้วอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ก็มีและไม่รู้ภาษาอาหรับ ในช่วงศตวรรษที่  3 ฮ.ศ. / 9 ค.ศ. และศตวรรษที่ 4 ฮ.ศ./ 10 ค.ศ. บรรดานักเขียนซูฟีได้เริ่มเขียนคำสุภาษิตและถ้อยคำต่างๆ ตลอดทั้งคำสั่งสอนของบรรดาซูฟีผู้ยิ่งใหญ่ซึ่งในช่วงดังกล่าวนั้น บางคนก็หันมาใช้ภาษาอาหรับ ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วบรรดานักเขียนในยุคต้นๆเหล่านี้ก็ได้แปลถ้อยคำต่างๆ หรือสุภาษิตจากภาษาเปอร์เซียเป็นภาษาอาหรับโดยความเป็นจริงแล้วภาษาอาหรับ มักจะใช้เขียนในเรื่องราวศาสนา ในดินแดนที่ประชาชนพูดสองภาษาทั้งภาษาอาหรับและภาษาเปอร์เซียเป็นไปเช่นนั้น ไม่ใช่เพียงเพราะว่าภาษาอาหรับเป็นภาษาแห่งคัมภีร์ แต่เพราะว่ามันเป็นภาษาของชนชั้นปกครองเช่นบรรดา คอลิฟะฮ์ในสมัยนั้นก็พูดภาษาอาหรับ นั่นคือเหตุผลที่ว่าไม่การใช้ภาษาเปอร์เซียเพื่อจุดมุ่งหมายในการเขียนตำรับ ตำราก็ได้เริ่มขึ้นไม่มากก็น้อยในช่วงเวลานั้น  ซึ่งบรรดาผู้ปกครองเปอร์เซียได้ตั้งตนเป็นอิสระปรากฏขึ้นตามหัวเมืองต่างๆ พวกเขาได้เริ่มใช้ภาษาเปอร์เซียในราชสำนักเหล่านั้น

ในช่วงศตวรรษที่  5/11 ซึ่งบรรดาซูฟีแห่งคุรอซาน ได้เริ่มใช้ภาษาเปอร์เซียในการเขียนหนังสือ จะ เห็นได้ว่า คู่มือหลายเล่มของซูฟี อย่างเช่น อรรถาธิบายเรื่อง กิตาบุด ตะอ์รูฟ   โดย มุสตัมลิ บุคอรี และหนังสือกัชฟุลมาฮ์ญูบ ของอะลี  อิบนิ อุสมาน  ฮุจญ์วิรี ซึ่งทั้งสองนั้นเขียนเป็นภาษาเปอร์เซีย ถือเป็นแหล่ง ที่มาระดับคลาสสิกในแนวทางซูฟี แม้แต่ อะบูฮามิด ฆอซารี (ตาย ฮ.ศ.505 /ค.ศ. 1111 ) ผู้ซึ่งได้เขียนตำราที่สำคัญละมีชื่อเสียงมากคือ อียาอุลูมิดดีน เป็นภาษาอาหรับและภายหลักจากนั้นก็ได้เขียนสรุปสั้นๆ ของหนังสือเล่มนี้เป็นภาษาเปอร์เซียอีกทีหนึ่ง ภาษาเปอร์เซียถูกนำมาใช้ไม่แต่เพียงเพื่อเขียนตำราคู่มือของซูฟีเท่านั้นแต่ ยังได้นำมาเขียนบทกวีแนวทางจิตวิญญาณและเขียนร้อยแก้วเชิงสร้างสรรค์ ตามแนวทางจิตวิญญาณด้วยอย่างเช่นบทความขาดสั้นๆ ของอะบุลฮะซัน บัสตี แห่งนีชาปูร์ และซาวารนิฮ์ ของ อะหมัด ฆอซารี (ตาย ฮ.ศ.520) ตามความจริงแล้ว นับจากศตวรรษที่ 5 ฮ.ศ./ 11 ค.ศ.ภาษาเปอร์เซียค่อยๆ ถูกนำมาใช้แทนภาษาอาหรับ และได้กลายเป็นภาษาเบื้องต้นของแนวทางซูฟี

ลักษณะประการที่สองของ หลักการซูฟีเปอร์เซียก็คือการใช้กวีนิพนธ์อย่างหนักหน่วงมีการประพันธ์หรือ ยกบทกวีในภาษาอาหรับที่จำกันได้ทั่วไป ในยุคคลาสสิกของประวัติเกี่ยวกับแนวทางซูฟี บางบทก็ได้อ้างจากคู่มือภาษาอาหรับแต่แรกเริ่มโดย ซาร์รอจญ์ คาลาบาซีและฆาร์กูชิ แต่คุณภาพของบทกวีเหล่านี้เมื่อเปรียบเทียบที่ประพันธ์ขึ้นมาโดยอจริยะทาง ด้านกวีของชาวเปอร์เซียแล้ว จะเห็นว่าด้อยความสำคัญลงไป ซูฟีอิหร่านได้พัฒนากวีนิพนธ์ขึ้นไปสู่ระดับหนึ่ง ซึ่งได้กลายเป็นรูปแบบพื้นฐานของการเขียนในเรื่องแนวทางซูฟี เหมือนอย่างในช่วงของศตวรรษที่ 5/ 11เราจะพบคำกลอนที่ประพันธ์หรือได้รับการอ้างอิง โดยธรรดาเชคซูฟีอาทิเช่นอะบูสาอิด อะบุลคัยร์ อะบุลฮะซัน บัสตี อะหมัด ฆอซารี แต่ในไม่ช้าเมื่อซูฟีเหล่านั้นเริ่มประพันธ์บทกวีในรูปแบบลีลาอื่นๆ กล่าวคือ ในรูปแบบฉันท์ลักษณ์ที่เรียกว่า ฆอสิดะฮ์ ฉันท์ลักษณ์ แบบมัษนาวี และฆาซัล ในเรื่อง ฮะกิม ซะนาอี แห่ง ก็อซนา ได้รับการยอมรับ โดยทั่วไปให้อยู่ในฐานะเป็นกวีคนแรกผู้สร้างบทกวีแบบเปอร์เซีย ซึ่งเป็นรูปแบบพื้นฐานของการแสดงออกตามแนวทาวซูฟี เขาผู้นี้ได้ใช้บทกวีหลายประเภทอย่างเช่นรูปแบบโคลงกลอนที่ บทหนึ่งมีสี่บรรทัด รูปฆอสิดะฮ์ และรูปมัษนาวี ดังปรากฏในสรรนิพนธ์ของเขาและในหนังสือแต่งโดยใช้หลักมัษนาวีของเขา เช่นเรื่องฮานีเกาะ ตามความจริงแล้ว ซะนาอี เป็นกวีที่ได้นำฉันท์ลักษณ์ทั้งแบบมัษนารี และฆาซัลมาใช้เขียนใน แนวทางซูฟีของเขา

กวีซูฟี ผู้ยิ่งใหญ่คนหนึ่งหลักจากซานาอีก็คือฟะรีรุดุดีน  อัตตาร์ แห่ง นีชาปูร์  ผู้ซึ่งในปัจจุบันนี้มีชื่อ เสียงอย่างมากสำหรับผลงานของเขาในเชิงอุปมาอุปไมยทางด้านจิตวิญญาณคือเรื่อง มันติกุดตอยย์ ซึ่งตามปกติแปลกันว่า การประชุมของฝูงวิหคอัตตาร์ ได้นิพนธ์อย่างน้อยอีกสามมัษนาวี เหมือนอย่างกับการรบรวมสรรนิพนธ์ในรูปดีวาน ซึ่งประกอบด้วยคำประพันธ์แบบ ฆอชีดะฮ์ ฆาซัล และหนังสืออีก เล่มหนึ่งในรูปรูบาอิ ซึ่งเรื่องว่า มุคตาร์นอเมะฮ์ ในบทกวีพนธ์ของเขา อัตตาร์ ได้อธิบายคำสอนทางด้านจิตวิญญาณทั้งหมดซึ่งได้พัฒนาแล้วในช่วงชีวิตของเขา ไว้เป็นรูปแบบกวีนิพนธ์ เหตุผลก็เช่นเดียวกันก็คือ อัตตาร์มีอิทธิพลอย่างมากในการเผยแผ่หลักการซูฟี เรื่องราวต่างๆแม้กระทั่งนิทานที่เกี่ยวกับชีวิตนักบุญ หรือบรรดาวะลียุลลอฮ์ โดยนำมาร้อยกรองในฉันท์ลักษณ์แบบมัษนาวีของเขา ซึ่งรวมทั้งอัตชีววประวัติที่มีชื่อเสียงของเขาเกี่ยวกับเรื่องนักบุญ ซึ่งเรียกบทกวีพนธ์เรื่องนี้ตัซกีเราะฮ์ตุล เอาลิยาอ์ นั่นคือเหตุผลที่ว่าทำไมญะลาลุดดี รูมี กวีซูฟีเปอร์เซียผู้มีชื่อเสียงซึ่งเป็นผู้ประพันธ์เรื่อง  มัษนาวี  ตลอดทั้งสรรนิพนธ์ในเรื่องฆาซัลและรุบาอี จึงได้ถือว่าตัวเขาเองเป็นผู้ตามหลังคนหนึ่งของอัตตาร์ อัตตาร์ และรูมี เป็นกวีผู้ยิ่งใหญ่ทั้งสองคนซึ่งติดตามโดยกวีจำนวนมากในหลายศตวรรษภายหลัก จากนั้นบางคนในจำนวนนั้นอย่างเช่น  ซะอ์ดี และฮาฟีซแห่งชีราช และญามิ แห่ง ฮาร์ท ก็เป็นบุคคลที่ไม่รู้จักกันแล้วอย่างดีในประวัติวรรณคดีเปอร์เซีย

ลักษณะประการที่สาม ของ แนวทางซูฟีเปอร์เซีย คือการใช้รูปแบบเล่าเรื่องพรรณนาความสำหรับการอธิบายถึงแนวความคิดทางด้าน จิตวิญญาณ และเรืองราวทางด้านอภิปรัชญาที่ลึกซึ่งที่สุดรวมทั้งคำสอนต่างๆ ทางด้านศีลธรรมของศาสนา การใช้อุปมาอุปไมยซึ่ง ฮัลราจญ์ ได้เคยนำมาใช้อย่างกว้างขวาง แต่บรรดาซูฟีอิหร่านในแคว้นคุรอซานชช่วงศตวรรษที่     5 ฮ.ศ./ 11ค.ศ. ได้เริ่มใช้เรื่องราวต่างๆเชิงอุปมาอุปไมย  โดยการพัฒนาขึ้นไปอย่างประณีตมากกว่าเดิมมาก เราได้อ้างมัษนาวีเชิงอุปมาอุปไมยที่มีชื่อเสียงของอัตตาร์ คือเรื่อง การประชุมของฝูงวิหค  กรอบของเรื่องในหนังสือเล่มนี้ได้หยิบยืมมาจากเรื่อง  เรื่องราวของวิหค ของอะหมัด ฆอซารี ซึ่งเขียนขึ้นประมาณร้อยปีก่อนที่อัตตาร์ จะได้ประพันธ์มัษนาวีของเขา

เรื่องราวเกี่ยวกับนกกลุ่มหนึ่งซึ่งมีหลายชนิดได้มารวมกันและได้ถกเถียงถึงความจริงที่พวกมันจำเป็น ที่จะต้องมีราชานกตัวหนึ่ง ให้เหมือนอย่างกับสรรพสัตว์อื่นๆ ในเมืองไม่มีตัวใดเหมาะสมพอที่จะในช่วงศตวรรษที่ 3-4 ฮ.ศ./ 9-10 8ค.ศ.   บรรดานักเขียนซูฟี ได้เริ่มเขียนคำสุภาษิต  และถ้อยคำต่างๆตลอดทั้งคำสั่งสอนของบรรดาซูฟีผู้ยิ่งใหญ่ซึ่งในช่วงดังกล่าว นั้นบางคนก็หันมาใช้ภาษาอาหรับซึ่งตามความเป็นจริงแล้วบรรดานักเขียนในยุค ต้นเหล่านี้ก็ได้แปลถ้อยคำต่างๆ หรือสุภาษิตจากภาษาเปอร์เซียเป็นภาษาอาหรับ อยู่ในตำแหน่งนั้นได้ ยกเว้นนกซิโมร์ก ยกเว้นนกซีโมร์กแห่งนิยายเท่านั้นตั้งแต่นั้นมาฝูงนกจึงได้เริ่มแสวงหาและ ได้พบวิหคใหญ่ตัวนั้น ในพระราชวังของมันในเกาะแห่งหนึ่งที่ห่างไกลวิถีทางเต็มไปด้วยอันตรายและการ เดินทางก็เต็มไปด้วยความสุ่มเสี่ยง จึงทำให้นกจำนวนมากต้องล้มตายลงระหว่างทาง บรรดานกที่คุ้นเคยกับอากาศร้อนก็พากันตายในสถานที่ต่างๆ ที่มีอากาศเย็นส่วนนกที่คุ้นเคยกับอากาศหนาวก็พากันล้มตายในสถานที่ที่มี อากาศร้อน นกบางตัวต้องจมน้ำตายในมหาสมุทรและนกบางตัวก็ถูกสายฟ้าผ่าตาย มีเหลือเพียงจำนวนน้อยเท่านั้นในที่สุดก็ได้บินถึงจุดหมายปลายทางของ มันและได้ไปปรากฏอยู่ต่อหน้า ซิโมร์ก ราชาแห่งวิหคของพวกมัน โดยใช้เรื่องดังกล่าวนี้ กวีทั้งสองคือ อะหมัด ฆอซารี และอัตตาร์ ต้องการที่จะอธิบายถึงวิถีทางคืนกลับของวิญญาณมนุษย์จงพระผู้อภิบาลของเขา หรือแหล่งดั่งเดิมของเขา ฝูงนกเหล่านั้นเป็นตัวแทนของวิญญาณมนุษย์ที่แตกต่างกัน ซึ่งต่างก็แสวงหาพระผู้อภิบาลของพวกเขา โดยธรรมชาติที่แท้จริงของมันการเดินทางไปยังเกาะนั้นเป็นสัญลักษณ์ของการ จาริกทางจิตวิญญาณ ด้านในและเกาะนั้น แทนโลกแห่งสวรรค์หรือโลกแห่งมะลาอิกะฮ์ (มะลากูต) และในที่สุดซีโมร์ก หรือราชาแห่งฝูงวิหคนั้นก็คือพระผู้อภิบาลผู้ซึ่งเป็นแหล่งดั้งเดิมของทุก สรรพสิ่ง
เป็นที่น่าสนใจที่จะบันทึกข้อสงเกตไว้ด้วยว่าการเล่นกับคำ ซีโมร์ก ซึ่งมีความหมายในภาษาเปอร์เซีย คือ นกสามสิบตัว และโดยการจำกัดจำนวนของนกที่บินไปถึงจุดหมายปลายทางของพวกมันเพียงสามสิบตัว อัตตาร์พยายามที่จะชี้ให้เห็นว่าในตอนสุดท้ายของการเดินทางไกลทางจิตวิญญาณ นั้นเมือมนุษย์ถึงจุดหมายปลายทางของเขาแล้ว เขาจะพบว่าจุดมุ่งหมายปลายทางของเขาเป็นเหมือนอย่างจุดหมายปลายทางของคน อื่นๆ นั่นคือความไม่มีอะไรเว้นแต่ตัวตนนั้น

ในการเขียนอุปมาอุปไมยตามแนวทางซูฟีของพวกเขา ซึ่งอัตตาร์ และก่อนแต่หน้าเขาอะหมัด ฆอซารี ก็ดูเหมือนว่าได้รับอิทธิพลมาในทำนองนั้น แม้ว่าผลงานผู้งใหญ่แห่งคุรอซาน เช่น อิบนิสินา ใน ความเรียงว่าด้วยเรื่องนก ของเขา อิบนิสินา ก็ได้เคยใช้การเปรียบเทียบแบบเดียวกันนี้  ในการแสงดอกถึงแนวความคิดนิโอพาโตนิคของเกี่ยวกับการคืนนกลับของวิญญาณไปยัง แหล่งเดิมของมันตามความจริง          อิบนิสินา ได้เขียนเรียงความเป็นชิงอุปมาอุปไมยไว้อีกสองเรื่องคือ ฮัยย์ อิบนิยัคซาน และ มิรอจญ์ นอเมะฮ์ เพื่อที่จะทำทางแนวความคิดเช่นเดียวกันนั้น และเรียงความเหล่านี้ มีผลกระทบต่อบรรดานักเขียนและกวี แนวทางจิตวิญญาณเปอร์เซียอื่นๆ  ด้วยเช่นกันอย่างเช่นซานาอี อัตตาร์ มุบาร็อคชาห์ มาร์วีรูดี   คาวาจู แห่งกีรมาน และอาลาอุดเดาละ  เส็มนานิ ทั้งหมดเหล่านี้ได้เขียนผลงานในเชิงอุปมาอุปไมยของพวกเขา ภายใต้อิทธิพลของเรื่องเรื่อง มิรอจญ์ นอเมะฮ์ และฮัยน์ อิบนิ ยัคซาน ของอิบนิสินา

ลักษณะประการที่สี่ ของแนวทางซูฟีเปอร์เซียคือการใช้มโนคติเกี่ยวกับความรักในการอธิบายความ สัมพันธ์ของมนุษย์กับพระผู้เป็นเจ้า   แนวความคิดเกี่ยว แนวทางซูฟีเปอร์เซีย  คือการใช้มโนคติ เกี่ยวกับความรักในการอธิบายความสัมพันธ์ของมนุษย์กับพระผู้เป็นเจ้าแนวความ คิดเกี่ยวความรักถูกนำมาใช้ในความหมาะกับความรักถูกนำมาใช้ในความหมายดัง กล่าวนี้ในแนวทางซูฟีคลาสสิก ตามความจริงแล้ว   ความคิดดังกล่าวปรากฏอยู่ในคัมภีร์คือทั้งในอัลกุรอาน และในฮะดีษซึ่งเป็นวจนะของท่านศาสดา มีหลายโองการในคัมภีร์อัลกุรอานที่แสดงถึงความสัมพันธ์ของความระหว่างมนุษย์ กับผู้เป็นพระเจ้า ซึ่งคำถูกกนำมาใช้สำหรับความรักในโองการเหล่านั้นคือคำว่า ฮับบ์ ซึ่งสามารถจะแปลให้อยู่ในฐานะมิตรภาพ อย่างไรก็ตามบรรดาซูฟีเริ่มใช้คำอื่น  นั้นคือคำว่า อิชค์ คำนี้ปกติแล้วใช้เพื่อแสดงความสัมพันธ์ของบุคคลกับบุคคลอื่นๆ  ปกติใช้ระหว่างผู้ชายกับผู้หญิง และมีความหมายบ่งบอกถึงความปรารถนาในด้านเพศสมพันธ์อีกด้วยการใช้คำนี้และ การนำคำนี้มาจาก อะชิก และมาฮ์ชูก ( หมายถึงคนรักและผู้เป็นที่รัก)  แสดงออกซึ่งความสัมพันธ์ของมนุษย์กับพระผู้เป็นเจ้า และพูดถึงพระผู้เป็นเจ้าในฐานะ อะชิก โดยบรรดาซูฟี ได้กลายเป็นการโต้แย้งกันมาทีเดี่ยว และเป็นความจริงที่ทำให้ซูฟีบางคนถึงกับประหารชีวิตในศตวรรษที่ 3/ 10 โดยคอลิฟะฮ์ สำหรับผู้ที่กล่าวเช่นนั้น ด้วยเหตุผลนี้เองที่ทำให้นักเขียนและครูซูฟี ส่วนมากต้องระมัดระวังที่จะไม่ใช้คำว่า อิชก์ เมื่อกล่าวถึงพระเป็นเจ้าและความสัมพันธ์ของมนุษย์อย่างไรก็ตามในครึ่งหลัง ของศตวรรษที่ 5/ 11 เราสังเกตุเห็นว่า ซูฟีบางคนโดยเฉพาะในคุรอซานตะวันออกได้เริ่มใช้คำนี้  และที่มาของมันโดยเฉพาะในบทกวีต่างๆของพวกเขา ตามความจริงแล้วบทกวีบางบทที่บรรดาซูฟีได้ยกขึ้นมากล่าวในคำสั่งสอนชี้แจง ของพวกเขา หรือได้จัดให้มีความขับร้องในช่วงการรวมกลุ่มบรรเลงดนตรีของพวกเขาที่เรียก ว่า สะมาอ์ บทกวีบางบทที่แสดงออกโดยไม่เคารพต่อศาสนาซึ่งประพันธ์ขึ้นโดยกวีบางคนซึ่ง ไม่เป็นซูฟี แต่ใช้คำว่า อิชก์ ซึ่งปรากฏในทำนองที่พลาดพิงไปถึงเพศสัมพันธ์ของมนุษย์  อย่างไรก็ตามบรรดาซูฟีได้ใช้บทกวีเหล่านี้ไม่ใช่ในความหมายที่เป็นการลบหลู่ ศาสนา แต่เข้าใจบทกวีเหล่านี้ที่แตกต่างกันออกไปมากทีเดียว บรรดาครูซูฟี ที่ได้ยอมอนุญาตให้ใช้บทกวีประเภทนี้นำมาร้องในการชุมนุมของพวกเขา ก็คิดว่ามันไม่เกี่ยวกับสิ่งที่กวี หรือคนฟัง ส่วนมากของเขาจะเข้าใจในบทกวีต่างๆ เหล่านี้ แต่สิ่งซึ่งบรรดาผู้ฟังในแนวทางซูฟี เข้าใจว่าอย่างไร นั้นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง สำหรับบรรดาซูฟี แม้ว่าบทกวีเหล่า นี้บางบทประพันธ์ขึ้นโดยกวีที่ไม่ใช่ซูฟี แต่บทกวี เหล่านี้ก็สามารถแสดงออกถึงความปรารถนาอันเร่าร้อนที่ความรู้สึกของบรรดานัก ใฝ่หาด้านจิตวิญญาณถวิลหาผู้เป็นที่รักอันสูงส่งของพวกเขา

การ ใช้บทกวีที่เกี่ยวกับความรักซึ่งแสดงออกอย่างไม่เคารพในภาษาเปอร์เซียของบร รดาซูฟีพร้อมทั้งการใช้เรื่องราวต่างๆ และเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับความรักระหว่างคนรักทั้งหลาย อย่างเช่นนิทานเรื่อง ไลลาและมัจญ์นูน  ก็เป็นการอธิบายถึงสภาพทางด้านจิตใจและมโนคติของคนรักเพื่อเป็นวิถีทาง ตัวอย่างซึ่ง  มีผลต่อความรู้สึกนึกคิดต่างๆ  ที่ติดตามมาในเชิงเปรียบเทียบสำหรับวรรณคดีซูฟีเปอร์เซีย  นับจากสมัยดังกล่าวนี้ที่คำต่างๆ ได้ถูกนำมาใช้เป็นเชิงเปรียบเทียบอย่างเช่น โรงเตี้ยม ( คาราบาต) น้ำองุ่น ไวน์ ถ้วย และผู้ถือถ้วยเด็กหนุ่มมะยูซี และชาฮิด นอกจากนั้นยังได้นำเอารูปพรรณสัณฐานของผู้เป็นที่รักซึ่งเป็นมนุษย์ อย่างเช่นดวงตา คิ้ว  ริมฝีปาก   แก้ม  ไฝ หรือ ขี้แมงวัวบนแก้ม เส้นผม รอนผม ก็ได้ถูกนำมาใช้ให้เป็นภาพเปรียบเทียบเพื่อที่จะอธิบายถึงมโนคติทางด้าน อภิปรัชญาอันลึกซึ้งของความรัก

อะไร คือ  อภิปรัชญาของความรักนี้ที่บรรดานักเขียนและกวีซูฟีเปอร์เซียมีอยู่ในจิตใจ ? หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง อะไรคือแนวความคิดทางด้านจิตวิญญาณซึ่งบรรดาซูฟีเปอร์เซียได้พยายามอธิบาย โดยการใช้สัญลักษณ์ต่างๆ เป็นเชิงเปรียบเทียบซึ่งพวกเขาได้หยิบยืมมาจากบทภาษากวีของบรรดากวีราชสำนัก ที่มิใช่ซูฟี ? การที่จะตอบคำถามนี้เราอาจจะศึกษาถึงแหล่งที่มากมายของซูฟีเปอร์เซียคลาสสิก ที่ได้เขียนหรือประพันธ์ขึ้นในช่วง 30 ปีแรกของศตวรรษที่ 6/ 12 อย่างเช่น ผลงานสรรนิพันธ์และมัษนาวีของซะนาอี อรรถาธิบายกุรอาน กัชฟุลอัสรอร์ของรอชีดุดดีน มัยบุดี และตัมฮีดะฮ์ของอัยนุ้ลอุซาต อะมาดานี

แต่ปราศจากข้อสงสัยใดๆ ว่างานที่ดีเด่นที่สุดและนับเป็นอันดับหนึ่งที่ได้อธิบายถึงอภิปรัชญาและ จิตวิทยาของซูฟีเกี่ยวกับความรักก็คือเรื่องซะวานิฮ์ ของอะหมัด  ฆอซารี หนังสือเล่มนี้โดยพื้นฐานแล้วเป็นร้อยกรองสลับกันไปกับคำประพันธ์สี่บรรทัด หรือร้อยแก้วกระจายไปทั่ว บางส่วนผู้เขียนประพันธ์เองและบางส่วนโดยบรรดากวีที่ไม่ได้ระบุนามลีลาการ เขียนของฆอซารี ในหนังสือเล่มนี้ เหมือนอย่างในเรื่อง  ความเรียงเกี่ยวกับฝูงนก ที่เคยอ้างมาแล้วนั้น ซึ่งเป็นลีลาทางด้านกวีนิพนธ์อธิบายมโนคติทางด้านจิตวิญญาณอย่างลึกซึ่ง ที่สุดและเป็นการเปิดเผยความเร้นลับต่างๆของความสัมพันธ์ระหว่างคนรักที่แท้ จริงกับผู้เป็นที่รักอันสูงส่งของเขาหรือของนาง เขาพึ่งพิงอย่างมากมายในเรื่องราวที่เกิดขึ้น ตลอดทั้งการใช้อุปมาอุปไมยเปรียบเทียบซึ่งได้หยิบยืมมาจากบทภาษาแห่งความรัก ที่หมิ่นแหม่ต่อศาสนา  ลีลาทางด้านกวีนี้ สามารถจะสังเกตเห็นได้จากบทต้นๆ ของเรื่องสวานิฮ์ ในบทที่หนึ่งซึ่งฆอซารี ต้องการที่จะพูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างจิตวิญญาณกับความรัก เขาได้ยกกลอนสี่บรรทัดนี้ขึ้นประกอบ

 

“อาชาของเราได้เริ่มบนวีถีทางนั้น                   จากความไม่เป็นอะไร

ควบคู่กันไปกับความรัก                                 ราตรีของเราถูกทำให้สว่างจ้าอย่างต่อเนื่อง

โดยตะเกียงแห่งแห่งความเป็นหนึ่งเดียว         เมือเรากลับสู่ความไม่เป็นอะไร

เธอจะไม่พบริมฝีปากของเราแห้งผาก              จากไวน์นั้นซึ่งมิได้ถูกห้ามในศาสนาของเรา”

 

จาก บทกวีสี่บทนี้  ในตัวมันเองเป็นตัวอย่างว่าลัทธิสัญลักษณ์ถูกนำมาใช้ในแนวทางซูฟีเปอร์เซีย อย่างไร อาชาหรือม้าหรือพาหนะนั้นแทนความหมายของจิตวิญญาณซึ่งได้มาสู่ภาวะด้วยความ รักและจะกลับคืนสู่ต้นตอดั่งเดิมด้วยความรักเช่นกัน ราตรี คือการดำรงอยู่ก่อนกลางเวลาของจิตวิญญาณ เมื่องมันได้ทำการร่วมรักกับผู้เป็นที่รักและเกิดความปีติสุขในการร่วมกับ หล่อน/ เขา การร่วมนี้ยังได้กล่าวถึงเหมือนอย่างไวน์เช่นเดียวกัน มันไม่ใช่เป็นสิ่งถูกห้ามแก่ศาสนาของซูฟีซึ่งเป็นศาสนาแห่งความรัก

มโนคติอันเป็นศูนย์ รวมมโนศาสนา แห่งความรักก็คือ ความรักอันชัดแจ้งในตัวมันเอง แต่อะไรเล่าที่ความรักนี้ถูกหมายถึง?อย่างธรรมดาทั่วไป ความรัก หมายถึงภาวะทางด้านจิตใจ หรืออารมณ์ที่เข้มข้นที่บุคคลนั้นมีเพื่ออีกบุคคลหนึ่งแต่นี้ไม่ใช่สิ่งที่ บรรดาซูฟี หมายถึงเมื่ออ่ยถึงความรักสำหรับพวกเขาแล้ว ความรักนั้นมีความหมายมากกว่านั้น มันอ้างถึงภาวะทางด้านอภิปรัชญาซึ่งเป็นแก่แกนของการดำรงอยู่ในตัวมันเอง ซึ่งจากนั่นทุกสรรสิ่งได้มีมาสิ่งนี้ซูฟีบางคนได้เรียกโดยเขียนไว้ว่าความ รักอันเป็นแก่แท้ ( ฮับบ์ ซาต หรือ ฮิชก์ซาติในถ้อยคำทางด้านศาสนศาสตร์   ความรักเช่นนี้ถือเป็นสารัตถะอันเป็นแก่นแท้ที่สุดของพระผู้เป็นเจ้าซึ่งจาก นั่นคนรักและผู้เป็นที่รักได้มาสู่ภาวะและแก่ภาวะนั้นที่พวกเขาในที่สุดจะ ต้องคืนสู่ อะหมัด ฆอซารี มิได้ใช้ถ้อยคำที่ว่า อิชกิ ซาติ แต่มโนคติใน ตัวมันเองนั้นถูกบอกเป็นนัยๆ ถึงบทอื่นๆ ในสวานิฮ์ รวมทั้งบทต่อไปนี้ด้วย

“ความรักเป็นทั้งนกและรังของมัน           เป็นทั้งสารัตถะและคุณานุภาพของมัน
เป็นทั้งขนและปีกนั้น                              มันเป็นทั้งอากาศและการโผบิน
เป็นทั้งเป็นผู้ล่าและการล่า                      เป็นทั้งจุดมุ่งหมายและผู้แสวงหา
เพื่อจุดมุ่งหมายนั้น                                ผู้แสวงหาและสิ่งที่ถูกแสวงหา
มันเป็นการเริ่มต้นของมันเอง                  และจุดจบของมันเอง
เป็นราชาของมันเอง                               และพสกนิกรของมันเอง
เป็นดาบของมันเอง และเป็นทั้งฝักดาบ    เป็นเป็นทั้งสวนและต้นไม้
เป็นกิ่งไม้และผลไม้                                เป็นนกและรังนั้น
ในความโศกเศร้าแห่งรัก                       เราปลอดประโลมตัวเราเอง
เราถูกทำให้หันเหและประหลาดใจ         ด้วยงานของเราเอง
ถูกทำให้ล้มละลายด้วยชะตากรรมของเราเอง    ตัวเราเองเป็นทั้งผู้ล่า
ตัวเราเองเป็นเกมส์ล่า”

อะหมัด  ฆอซารี  ไม่ใช่เป็นซูฟีคนแรกผู้เชื่อในสิ่งที่เรียกว่า ความรักอันเป็นแก่นแท้ 2 ศตวรรษก่อนหน้าเขา ได้มีซูฟีชะฮีกผู้มีนามว่า ฮุเซน อิบนิ มันศูร อัลอัลลาช ( ถูกประหารชีวิต 909)ได้เคยสำแดงมโนคติแบบเดียวกันนี้มาแล้ว  เป็นภาวะแห่งมโนคติทางด้านปรัชญาอย่างถึงแก่น ซึ่งเป็นเชื่อกันในหมู่ นิโอเปโตนีสต์ ในหมู่นักปรัชญาเมธีท่องเที่ยวมุสลิมอย่างเช่นฟะรอบี และอิบนิสินา ก็ได้เชื่อในสิ่งนี้เช่นเดียวกันสิ่งที่อะหมัด ฆอซารี ก็คือรื้อฟื้นมโนตินี้ และใช้มันในฐานะที่เป็นมโนคติศูนย์กลาง ในด้านอภิปรัชญญาแนวจิตวิญญาณของเขา ฆอซารี ได้หยิบยืมแนวความคิดอีกหลายอย่างมาจากฮัลญ์จราจ ด้วยเช่นกัน ฉะนั้นจึงได้เริ่มขบวนการฮัลญ์ราจ ใหม่ขึ้นแนวทางซูฟี

แนวคิดอย่างหนึ่งซึ่งอะหมัด ฆอซารี กระทำเช่นเดียวกันกับบรรดากวี และนักเขียนซูฟีคนอื่นๆ อย่างเช่น อัยนุลกุดาต นะซาอี และอัตตาร์ได้ยืมมาจากฮลราจญ์ นั่นก็ อิบริส หรื ซาตาน ในฐานะที่เป็นคนรักของพระผู้เป็นเจ้า อีกแนวความคิดหนึ่งก็คือขั้นตอนต่างๆ ของความรู้ทางด้านจิตวิญญาณและแนวความคิดเกี่ยวกับกรรมทางด้านจิตวิญญาณใน ฐานะที่เป็นการดับสูญของคนรัก ในเปลวเพลิงแห่งความรักเหมือนอย่างที่มันเป็นแนวความคิดนี้ ฮัลราจญ์ ได้เคยอธิบายมาแล้วโดยการใช้การอุปมาอุปไมยเปรียบเทียบในหนังสือ กิตาบุดตะวาซิน ของเขา และอะหมัดฆอซารี ก็ได้ใช้อุปมาอุปไมยเช่นเดียวกันนี้ในบทหนึ่งของหนังสือ ซาวานิฮ์ ของเขานั่นคืออุปมาอุปไมยเกี่ยวกับแมลงเม่าและแสงเทียนซึ่งภายหลังจาก อะหมัดฆอซาร๊แล้ว สัญลักษณ์นี้ได้ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางในวรรณคดีเปอร์เซีย

หนึ่งในบรรดากวี ซึ่งได้ใช้อุปมาอุปไมยเปรียบเทียบในเรื่องแมลงเม่ากับแสงเทียนก็คือ อัตตาร์ และในเมื่อการพรรณนาของเขาใกล้ไปทางของฮัลราจญ์ข้าพเจ้าจึงยกเรื่องของเขามา จาก มันติกุดตอยร์

คืนหนึ่งบรรดาแมลงเม่าได้รวมตัวเข้า        พวกมันได้มาห้อมล้อมรอบแสงเทียน
พวกมันต่างกล่าวว่า                เป็นความต้องการของบางคน
ผู้ซึ่งจะนำออกมาซึ่งข่าวเล็กๆน้อยๆที่ปรารถนา    แมลงเม่าตัวหนึ่งบินอย่างรวดเร็ว
เข้าไปยังพระราชวังที่ห่างไกล            มันได้เป็นไปเช่นนั้น
พระราชวังถูกจุดประทีปให้เจิดจ้าด้วยแสงเทียน    มันได้บินกลับมา
และได้เปิดสมุดบันทึกของมันออก            มันได้เริ่มพรรณนาถึงมัน
หลังจากที่ได้ชั่งใจในความเข้าใจของมัน        ผู้ทดสอบแห่งมาตรการต่างๆ
ซึ่งได้ปรากฏอยู่ในที่ชุมนุมนั้น            ได้สังเกตเห็นว่ามันไม่มีความรู้
เกี่ยวกับเทียนไขทั้งหลาย                อีกตัวหนึ่งได้บินไป
มันได้ผ่านทะลวงแสงนั้น                จากระยะไกล
ที่มันได้บินทิ้งตัวมันเองเข้าปะทะเทียนไขนั้น    มันได้กระพือปีกเข้าไป
ในรังสีของสิ่งที่ปรารถนานั้น            แสงเทียนได้กลายเป็นผู้พิชิต
และมันเอง ถูกพิชิต                อย่างไรก็ตาม มันได้บินกลับมา
และบอกบางสิ่งบางอย่างที่เกี่ยวกับลึกลับนั้น    มันได้เล่าด้วยการพรรณนา
ถึงภาวะที่รวมเข้ากับแสงเทียนนั้น            ผู้ตรวจสอบได้บอกมันว่า
นี่ ไม่ใช่สิ่งยืนยัน

 

ความรัก…..บรรดาซูฟี หมายถึง เมื่อเอ่ยถึงความรักสำหรับพวกเขาแล้วความรักนั้นมีความหมายมากกว่านั้น  มันอ้างถึงภาวะทางด้านอภิปรัชญาซึ่งเป็นแก่นแกนของการดำรงอยู่ในตัวมันเอง

โอ้…ที่รักเหมือนอย่างผู้นั้น            ซึ่งท่านอาจจะทนต่อตราประทับนั้นได้อย่างไร?
อีกตัวหนึ่งยืนขึ้น มันได้บินฉวัดเฉวียน        ด้วยความดื่มด่ำอย่างตกภวังค์
เท้าเริงระบำบนยอดของแสงเทียน            ที่มันขึ้นไปจัดเท้าทั้งสองของมัน
ได้สัมผัสเปลวเพลิง                มันได้สูญสิ้นตัวมันเองรวมเข้ากับอย่างปีติ
เมื่อเปลวเพลิงห้อมล้อมตัวมัน            ตั้งแต่หัวจรดเท้าแล้ว
อวัยวะต่างๆ ของมันก็กลายเป็นสีแดงดุจเพลิง    ผู้ตรวจสอบของพวกมัน
เมื่อได้เห็นมันจากแต่ไกล                ก็ได้นำเทียนนั้นมายังตัวมัน และแสงของมัน
ก็เป็นเหมือนอย่างแสงของมัน            ได้กล่าวขึ้นว่า
แมงเม่าตัวนี้ที่ไม่บรรลุถึงจุดมุ่งหมายนั้น        ผู้ใดอีกเล่าที่เข้าใจ ?
นี้เป็นเพียงหนึ่งเท่านั้นกับข่าวนั้น            เขาผู้ซึ่งกลับกลายด้วยการไม่มีรายงาน
และมิได้ทิ้งร่องรอยใดๆ ไว้เลย            ในท่ามกลางของสิ่งทั้งมวล
เขาผู้นั้นเป็นมีข่าวคราว
(แปล โดย ปีเตอร์ อะเวอรี่ หน้า 356-7)

ประสบการณ์ของแมงเม่าทั้งสาม ในภาคอุปมาอุปไมยนี้แสดงให้เห็นถึงบุคคลธรรมดาหรือระดับความรู้เชิงปรัชญา ความรู้ด้านจิตวิญญาณ หรือผู้เชื่อมั่นในพระเจ้า (อะรีฟและการรวมอย่างแท้จริงซึ่งไม่ใช่อะไรอื่นเลยเว้น แต่การดับสูญของอัตตา แมงเม่าตัวที่หนึ่งได้รับประสบการณ์เป็นแสงแห่งความรู้ในพระราชวังนั้น แต่มิได้เห็นเปลวไฟโดยตรงนี้เป็นเพียงความคิดในสมองความรู้ระดับธรรมดา แสวงหาก็โดยผ่านการได้ยิน ได้ฟังหรือการอ่านประสบการณ์ของแมงเม่าตัวที่สองคือความรู้ที่ได้ชิมรส โดยฉับพลัน (เซาก์)แมงเม่าตัวที่สองเห็นเปลวไฟและรู้ถึงความอบอุ่นของมัน แต่มันก็มันหนีโอกาสของการรวมเข้าด้วยกัน  ความเข้าใจแท้จริงหรือการประจักษ์แจ้งแห่งแสงไฟนั้นคือสิ่งที่แมงเม่าตัวที่ สามประสพเมื่อมันโอบกอดเปลวไฟและเพียงชั่วอึกใจเดียวที่มันถูกทำให้เป็น เหมือนกับเปลวไฟนั้น

หลัก การซูฟีหรือแนวทางด้านจิตวิญญาณแห่งความรักของเปอร์เซีย  คุณลักษณะต่างๆ อันเป็นหลักของมัน เราได้ชี้ให้เห็นหลักการกว้างๆ แล้วในที่นี้ได้บรรลุถึงการพัฒนาขั้นสูงของมันมาตั้งแต่แรกเริ่มในช่วง 25 ปีแรกของศตวรรษที่  13 ภายหลังจากนั้นวรรณคดีซึ่งได้ถูกสร้างขึ้นมาในสำนักคิดแนวนี้ก็ได้เคลื่อน ย้ายจากคุรอซานไปยังส่วนอื่นๆ ของโลกที่ได้รับอิทธิพลเปอร์เซีย